ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้ง 10  แห่งของประเทศไทยโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของพื้นที่ชายแดนด้อยพัฒนา และเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยในบริเวณนั้น แต่ทว่า กระบวนการได้มาและจัดการที่ดินทั้งพื้นที่ป่าและพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสร้างก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐบาล ซึ่งกลไกการตัดสินใจโดยมากเกิดขึ้นจากภาครัฐ ขาดการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ นำไปสู่ข้อร้องเรียนต่างๆ และทำให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนา

ป้ายคัดค้านการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบนรั้วที่ดินในอำเภอแม่สอด ที่มา: Heinrich Boll-Stiftung South East Asia การอนุญาต: CC BY-NC-SA 2.0

นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่ดินสาธารณะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มีการรับรองโดยภาครัฐ มีการใช้มาตรการกระตุ้นดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ โดยกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ราชพัสดุ โดยมีกรมธนารักษ์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และมีการจัดสรรพื้นที่ให้หน่วยงานราชการ หรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือนักลงทุนใช้ประโยชน์1

ทั้งนี้ จากนั้นหน่วยงานภาครัฐจะจัดสรรที่ดินให้กับนักลงทุน สร้างแรงจูงใจด้วยการทำข้อตกลงเฉพาะการเจรจาด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่และผลประโยชน์สาธารณะที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ที่ผ่านมา​พบว่า การเจรจาระหว่างภาครัฐและชาวบ้านในพื้นที่มักจะล้มเหลว ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งที่จำกัดความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่เหล่านี้

ผลที่ตามมาคือ โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนี้มีความเสี่ยงที่จะล่าช้าออกไปและประโยชน์ที่คาดไว้จะถูกถ่ายโอนไปยังภูมิภาคอื่น และเป็นที่ทราบกันดีว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทยได้ส่งผลผลักดันราคาที่ดินในภูมิภาคให้สูงขึ้นตามการเก็งกำไร ด้วยเหตุนี้ ความล้มเหลวในการเจรจาจะตัดโอกาสให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าของโครงการ

ผลกระทบทางสังคม 

การดำเนินงานของโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษส่งผลกระทบทางสังคมมากมาย เช่น ความขัดแย้งการใช้ที่ดิน และแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น และกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น​ก่อให้เกิดผู้ชนะและผู้แพ้ ตัวอย่างเช่น แนวทางการดำรงชีวิตแบบพื้นบ้านลดลงอันเป็นผลมาจากความเจริญ​ บริษัทที่มาลงทุนตั้งใหม่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีความต้องการแรงงานต่างชาติราคาถูก ซึ่งมักจะตรงกันข้ามกับความต้องการของคนในพื้นที่ต่อโอกาสการจ้างงานที่ดึงดูด นอกจากนี้ เมื่อหน่วยงานของรัฐได้ที่ดินสาธารณะเพื่อกำหนดเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ คนในพื้นที่อาจจะสูญเสียสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร​ส่วนกลางในพื้นที่ และส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทำอยู่เพื่อรายได้​ของครอบครัว

แรงงานข้ามชาติ

ในปีพ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติประมาณ 3.59 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 5.6 ของประชากร หรือร้อยละ 9.6 ของการจ้างงานทั้งหมด) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีพ.ศ. 2558 และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามจังหวัดชายแดน แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และกัมพูชา รัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะรับรองสถานะของแรงงานข้ามชาติและให้ได้รับการบริการพื้นฐานทางสังคม แต่ระบบยังไม่รองรับ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่มีเอกสารรับรอง และเสี่ยงต่อเป็นการเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งยิ่งสร้างความกังวลมากขึ้นถึงความเป็นไปได้ให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความเจริญอันเป็นผลมาจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ​2 องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติจะติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเรื่องสิทธิของผู้อพยพและเงื่อนไขการจ้างงานของแรงงาน​ที่เหมาะสม

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 

เนื่องจากรัฐบาลต้องการเร่งพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย จึงส่งผลกระทบมากมายต่อสิ่งแวดล้อม ​​ตั้งแต่ป่าสงวน คุณภาพน้ำและอากาศ และการจัดการขยะ

ทรัพยากรป่าไม้ 

ความต้องการใช้ที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้สร้างแรงกดดันต่อพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่การเกษตรอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้การพัฒนาดำเนินการไปได้อย่างรวดเร็ว จึงเลือกดำเนินการในพื้นที่ป่าไม้ ทั้งเขตป่าสงวนและป่าเสื่อมโทรมซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐ

การจัดสรรพื้นที่ป่าสงวนและป่าเสื่อมโทรมที่เป็นที่สาธารณะกลายเป็นประเด็นถกเถียง เพราะหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนวางแผนการใช้ที่ดินโดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศป่าไม้ที่มีอยู่หรือการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ การดำเนินงานทำนองนี้มักจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐบาลและชุมชนท้องถิ่น ตัวอย่างความขัดแย้งที่ผ่านมาถูกนำเสนอด้านล่างนี้

ทรัพยากรน้ำ​

แนวทางจัดการการใช้ที่ดินมีบทบาทสำคัญในการจัดการคุณภาพแหล่งน้ำ3

การพัฒนาเขตอุตสาหกรรมผ่านเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมักจะลงเอยด้วยการแปลงพื้นที่ธรรมชาติเป็นเขตอุตสาหกรรมและก้าวสู่ความเป็นเมืองในที่สุด ทำให้เกิดความต้องการใช้น้ำเชิงแข่งขันอย่างสูงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการ ไม่เช่นนั้นจะนำไปสู่ภาวะกดดันต่อทรัพยากรน้ำ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสามารถก่อผลกระทบต่อความพร้อมของน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร แหล่งน้ำภายในประเทศ รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรวม ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในหลายๆ แห่งมีแนวโน้มที่จะสร้างปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคต 

คุณภาพอากาศ 

มีการคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยมลพิษเพิ่มขึ้นจากความเจริญของเมืองและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ​ ซึ่งรวมถึงก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น ปัญหาฝุ่นละออง (PM10) และการปล่อยสารอินทรีย์ระเหย (VOCs)4 ซึ่งมีการสังเกตเฝ้าดูปัญหานี้ว่า ได้ส่งผลกระทบดังกล่าวต่อสุขภาพของคนในพื้นที่แล้ว

ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 

ความเป็นเมืองและอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม จากความเจริญด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เกินขีดการรองรับของระบบนิเวศ

ทุกจังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลต่างๆ ดังนั้น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจำเป็นต้องมีแนวทางบำบัดและกำจัดขยะมูลฝอย​ รวมทั้งดำเนินการวางแผนปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยให้ดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เช่น วางแผนการขนย้ายขยะจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขนาดเล็กไปยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขนาดใหญ่เพื่อการจัดการได้อย่างถูกวิธี5

จากรายงานสถานกาณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 ยังพบว่า หลายจังหวัดมีปัญหาปริมาณขยะมูลฝอยตกค้าง และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้นหากมีการดำเนินงานเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รายงานนี้ยังแสดงให้เห็นว่า จังหวัดที่มีการดำเนินการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีปริมาณขยะมูลฝอยมากที่สุดอยู่ในอันดับต้นๆ โดยเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก​ จังหวัดฉะเชิงเทรา​มีการสะสมของขยะตกค้างเป็นจำนวน 1,242,000 ตันในปี พ.ศ. 25596

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

rA5zM
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!