เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.  2558 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายภายในระยะเวลา 15 ปีประกอบด้วย 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมี 169 เป้าหมายเฉพาะเจาะจง และ 230 ตัวชี้วัด1 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง2  

ประเทศไทยมีกรอบการพัฒนาของตนเองที่กำลังใช้อยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยอาศัยหลักภูมิปัญญาและความซื่อสัตย์สุจริตตลอดจนหลักการเดินทางสายกลาง ความสมเหตุสมผลและความรอบคอบตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จุดเน้นของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือความยั่งยืนและได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 25453

การเปลี่ยนผ่านจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลกสร้างขึ้นจากความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษก่อนหน้าที่ประสานงานโดยสหประชาชาติและประเทศสมาชิก การรณรงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษเริ่มขึ้นในพ.ศ. 2543 และสิ้นสุดในพ.ศ. 2558 เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมโดยมุ่งเน้นเรื่องขจัดปัญหาความหิวโหย ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การไม่รู้หนังสือ ความเจ็บป่วยและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษโดยส่วนใหญ่ โดยประเทศไทยได้ใช้แนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นแนวทางให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา การเพิ่มศักยภาพของประชาชนและชุมชน ประเทศไทยยังคงมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของโลกด้วยการช่วยเสริมสร้างความสามารถของเพื่อนบ้านในการบรรลุพันธกิจของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษและความพยายามในการพัฒนาในอนาคต4

ประเทศไทยได้แบ่งปันความเชี่ยวชาญที่ได้รับจากการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษกับประเทศอื่น ๆโดยตรง ตลอดจนผ่านเวทีระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน ความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพเหล่านี้ได้ดำเนินการผ่านช่องทางที่หลากหลายรวมทั้งความร่วมมือทวิภาคี/ความร่วมมือสามฝ่าย ความร่วมมือใต้-ใต้ และกรอบพหุภาคี ตัวอย่าง เช่น ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการแบ่งปันปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นรูปแบบการพัฒนาสู่ประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นประธานกลุ่ม G-77 เมื่อปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยได้มีส่วนช่วยในการจัดตั้งโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลายประเทศ เช่นกัมพูชา อินดนีเซีย ลาว เลโซโท เมียนมาร์ ติมอร์ตะวันออกและตองกา 5 ตั้งแต่เริ่มแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืนถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการต่างๆที่สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามในการจัดการกับความยั่งยืนในประเทศไทยเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การปกป้องสิ่งแวดล้อมและความต้องการของมนุษย์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นไปตามหลักการสำคัญของวาระ 2573 และสามารถใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนการนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทของโลกได้6 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ

การนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่ท้องถิ่น

ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงถูกใช้เป็นหลักการสำคัญในความพยายามเพื่อการพัฒนาความยั่งยืนของประเทศไทย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความสมดุลในการใช้ทุนทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นฐานอยู่บนหลักการ 3 ประการที่เน้นการเดินทางสายกลางสำหรับคนไทยทุกระดับตั้งแต่จากทุกครอบครัว สู่ระดับชุมชนและสู่ระดับประเทศ หลักการเหล่านี้คือ:7

  • ความพอประมาณ

ในปีพ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชได้อธิบายถึงความหมายของการรู้จักความพอประมาณ:

ความพอเพียงคือความพอประมาณ … ความพอประมาณไม่ได้หมายความว่าประหยัดเกินไป อนุญาตให้ใช้สินค้าที่หรูหราได้ … แต่ควรจะพอประมาณตามความหมายของตนเอง” พระราชดำรัส ณ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ..2541

 

ในประเทศไทย การพอประมาณเป็นหลักการที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การบริโภคที่น้อยลงและรูปแบบการผลิตที่หลากหลาย (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 12)  การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7) และการจัดการทางทะเลอย่างยั่งยืน (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 14) และบนบก (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 15) ระบบนิเวศต่างๆ

  • ความสมเหตุสมผล

ความสมเหตุสมผลหมายถึงการพิจารณาอย่างรอบคอบของผลกระทบที่การกระทำและการตัดสินใจของเราอาจมีต่อทั้งผู้อื่นและโลกรอบตัวเรา การพิจารณาเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความสมเหตุสมผลมีการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้มากมายในประเด็นระดับโลกเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 13) ความเท่าเทียม (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 10) ความยุติธรรม (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 16) การพัฒนาแหล่งพลังงานที่สะอาด (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7) และการลดมลพิษ (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 12)

  • ความรอบคอบ

ความรอบคอบเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงต่างๆ การทำงานอย่างเป็นระบบและการบรรลุระดับของความสามารถและการพึ่งพาตนเองก่อนดำเนินการต่อ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนที่ดูแลไม่ให้เกินขีดความสามารถของพวกเขา หลักการนี้อาจประยุกต์ใช้กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกือบทั้งหมดรวมทั้งด้านสุขภาพ (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 3) อาหาร (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 2) น้ำ (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6) และความมั่นคงด้านพลังงาน (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 7) โดยเฉพาะ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย แก้ไขโดย ODT จาก มูลนิธิมั่นพัฒนา8

นี่เป็นการนำเสนอว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีการพัฒนามาอย่างไร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นคุณค่าของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความท้าทายในการพัฒนาท้องถิ่นและปลูกฝังแนวความคิดที่ยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ ด้านของชีวิตอย่างมีนัยสำคัญก่อนที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้มีการบูรณาการไว้ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) รวมทั้งนโยบายประเทศไทย 4.0 ดังนั้นแผนงานและแผนงบประมาณของหน่วยงานรัฐบาลทั้งหมดจึงถูกกำหนดให้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน9

กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)

กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะเวลา 20 ปีที่ประกาศโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา เป็นสิ่งสำคัญในการให้ประเทศไทยมีทิศทางที่ชัดเจนในระยะยาวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรียกกันว่าเป็นแผน 6-6-4 ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน 6 ยุทธศาสตร์หลัก และ 4 ยุทธศาสตร์สนับสนุน

ยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านประกอบด้วยความมั่นคง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความเสมอภาคทางสังคม การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการปรับสมดุลของสภาพแวดล้อม และการพัฒนาภาครัฐ

ยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อ:

  • เพิ่มและพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์
  • ให้ความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
  • เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  • ส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • เสริมสร้างเสถียรภาพของชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและความยั่งยืน
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐและส่งเสริมธรรมาภิบาล

4 ยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม การพัฒนาเมือง ภูมิภาคและเขตเศรษฐกิจ และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา10

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ได้รับการจัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะและการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ยังเน้นความสมดุลกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม แผนนี้ยังคงมุ่งเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย 3 หลักการคือ ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล และความรอบคอบ11

นโยบายประเทศไทย 4.0

ประเทศไทย 4.0 สะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการออกแบบระบบเศรษฐกิจฐานคุณค่าโดยการเทคโนโลยีใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการนำพาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางและผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ประเทศที่มีช่วงรายได้สูง  

นโยบายประเทศไทย 4.0 จะบรรลุผลได้โดยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันของไทย 5 อุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม “5 S-Curve แรก”  ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์มูลค่าสูงและการท่องเที่ยวด้านสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอาหาร นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริม 5 อุตสาหกรรมใหม่ หรือ “S-Curve ใหม่” ซึ่งรวมถึงหุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัลและศูนย์การแพทย์ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จ12

ประเทศไทยจำเป็นต้องจัดการกับความเหลื่อมล้ำและความไม่สมดุลระหว่างสภาพแวดล้อมและสังคม เป้าหมายรวมของประเทศไทยก็เช่นเดียวกันกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการผลิตของประเทศให้กลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง ไปสู่เศรษฐกิจแบบที่ภาคส่วนต่างๆได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึงและมุ่งเน้นการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นรูปแบบทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนการทำฟาร์มแบบดั้งเดิมสู่การทำฟาร์มแบบชาญฉลาด เปลี่ยนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแบบดั้งเดิมให้เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ชาญฉลาด เปลี่ยนการบริการต่างๆแบบดั้งเดิมไปสู่การบริการที่มีมูลค่าสูง และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนา และอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม13

วิธีการดำเนินงานระดับชาติสำหรับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

รัฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีกรรมการจำนวน 37 คน ซึ่งมาจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม โดยมี  เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นเลขานุการ14 คณะกรรมการระดับชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกรอบนโยบายอื่น ๆ ได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคมโดยยึดหลักความร่วมมือในการพัฒนา

อย่างไรก็ตามโครงสร้างการดำเนินงานยังคงมีผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคมน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีจำนวนตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมเพียงจำนวน 4 คนจากสมาชิกทั้งหมด 38 คน ดังนั้นภาครัฐจึงกำหนดกระบวนการของการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมและเนื้อหาของผลลัพธ์ทางวิชาการที่สำคัญ เช่น แผนการดำนเนินงานของแต่ละเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้นำไปสู่การร้องเรียนว่าองค์กรภาคประชาสังคม/องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีความสำคัญน้อยของรัฐบาลได้รับการเชิญให้เข้าร่วมในการวางแผนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในขณะที่กลุ่มผู้ที่มีความสำคัญมากหรือกำลังทำงานอยู่ในระดับรากหญ้าหรือในพื้นที่ห่างไกลกลับไม่ได้รับเชิญให้เข้ามีส่วนร่วม15

ภาครัฐส่วนใหญ่ใช้งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆเพื่อทำงานสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน กองทุนเหล่านี้เป็นรากฐานสำหรับแผนการดำเนินงานแบบบูรณาการของรัฐบาลตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

รัฐบาลได้สร้างโครงสร้างสำหรับการประสานงานระหว่างหน่วยงานในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายและตัวชี้วัดต้องมีการประสานกันระหว่างหน่วยงานอย่างน้อย 2 หน่วยงาน และงานนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญตามนโยบายการพัฒนาที่สำคัญ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายสำคัญอื่น ๆ ของรัฐบาลและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หน่วยงานต่างๆสามารถของบประมาณแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์จากงบประมาณกลางซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการการดำเนินการในการเชื่อมโยงกัน ประสานกันและสนับสนุนในลักษณะที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและไม่ซ้ำซ้อน อย่างไรก็ตามหลักฐานที่แสดงว่ากระบวนการนี้กำลังเกิดขึ้นจริงเป็นประจำมีน้อย16

ในปี พ.ศ. 2560- 2561 คณะรัฐมนตรีได้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นใหม่อีก 3 คณะ:

  • คณะกรรมการดำเนินการของนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งวาระการปฏิรูปประเทศและการดำเนินการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ
  • คณะกรรมการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในท้องถิ่นโดยมีนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ
  • คณะกรรมการโครงการยั่งยืนไทยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจระดับรากหญ้า โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการนี้จัดตั้งขั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561

ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรภาคประชาสังคมจะมีช่องทางมากขึ้นในการทำงานร่วมกับภาครัฐและจะสามารถจัดการกับวาระของท้องถิ่นได้17

เมื่อเดือนมกราคม 2561 กระทรวงการต่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาได้ริเริ่มแผนงานแบบเปิดซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการจำกัดจำนวนของผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคมในคณะกรรมการอย่างเป็นทางการและเพื่อสร้างการเจรจาให้มากขึ้นระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ18

เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ตั้งแต่ปี พ ศ. 2560 รัฐบาลได้ใช้แนวทางความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยได้ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดจิ๋วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทโดยได้ร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ บริษัทเอกชนมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญทางธุรกิจไปยังกลุ่มวิสาหกิจในท้องถิ่นจำนวน 1,200 แห่ง ความเชี่ยวชาญที่แบ่งปันกันครอบคลุมจำนวน 5 ด้านคือประสิทธิภาพทางธุรกิจ การสร้างความหลากหลาย การสร้างตราสินค้า การขายและการจัดจำหน่าย และความเป็นมืออาชีพทางธุรกิจ19

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการเปิดตัวนโยบายหนึ่งเพื่อปรับปรุงวิถีชีวิตของคนยากจน ความพอเพียงและประชาธิปไตย โดยเรียกโครงการนี้เรียกว่าโครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ 83,151 หมู่บ้าน/ชุมชน20 นโยบายเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชนท้องถิ่นและองค์กรภาคประชาสังคมและสร้างผลประโยชน์ให้กับพวกเขา หากนโยบายเหล่านี้บรรลุเป้าหมาย ขั้นตอนต่อไปคือจะบูรณาการนโยบายและโครงการเฉพาะเหล่านี้ไว้ในแผนงานและยุทธศาสตร์การพัฒนาประจำปีอย่างไร

บริษัทของไทยหลายแห่งยังได้ริเริ่มโครงการของตนเองในการร่วมทำงานสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทส่วนใหญ่ต้องทบทวนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของตนเองและหยุดกิจกรรมที่ดูเหมือนจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย พวกเขาต้องค้นหาวิธีการเพื่อให้บรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาคเอกชนสามารถช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ รวมถึงเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม บางบริษัทหันมาปรับกระบวนการผลิตหรือเน้นธุรกิจหลักของตนเองเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งเพื่อประโยชน์ของตนเองและความมั่งคั่งและความยั่งยืนของประเทศไทย21

การติดตามและประเมินผล

แผนงานของรัฐบาลไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

  • ส่วนยุทธศาสตร์จะดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระดับชาติ
  • ส่วนโครงการจะครอบคลุมแผนปฏิบัติการการดำเนินงานที่มีกรอบเวลา
  • ส่วนการติดตามสามารถประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดการดำเนินงานหลักของสหประชาชาติและตัวชี้วัดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่องค์กรต่างๆได้พัฒนาหรือกำลังพัฒนาในการประเมินผลของประเทศไทย และแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการอะไรต่อหรือไม่เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการบรรลุ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน22

รัฐบาลกล่าวว่าเชื่อว่าการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 ไม่ได้เป็นเพียงขั้นตอนการรายงานหรือโอกาสในการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีและความท้าทายระหว่างประเทศ แต่เป็นโอกาสสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์และแผนงาน ตลอดจนสร้างความตระหนักและสร้างความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาและชุมชน

ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี พ.ศ. 2573 การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับประเทศไทยในการติดตามความก้าวหน้าในความพยายามเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และช่วยประเทศด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในความพยายามในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณชนและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากหลายภาคส่วนของสังคมไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คณะทำงาน การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติ ประกอบด้วยหน่วยงานหลักต่างๆที่ทำงานเพื่อให้บรรลุ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติกำลังเร่งดำเนินการโดยใช้สถิติอย่างเป็นทางการของประเทศให้เป็นฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ การรวบรวมและการพัฒนาข้อมูลทางสถิติและตัวชี้วัดเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางสถิติของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ฐานข้อมูลและตัวชี้วัดสำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติ ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในทางปฏิบัติและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนส่วนร่วมที่ควรได้รับการสนับสนุน23

กระบวนการทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติได้เสร็จสิ้นแล้ว จากรายงานการทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติล่าสุดของปี พ.ศ. 256024 เวทีและคณะกรรมการต่างๆเหล่านี้ได้ให้พื้นที่สำหรับนักธุรกิจ นักวิชาการและองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อให้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเปิดโอกาสให้มีการประสานงานกันระหว่างกลุ่มเหล่านี้ (รายงานการทบทวนโดยสมัครใจของประเทศไทย, 1-2) รัฐบาลได้ดำเนินการให้มีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรอบ การปรึกษาหรือกับหลายกลุ่ม เช่น เยาวชนและสมาชิกรัฐสภา

ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของเวทีต่างๆเหล่านี้ในการให้คำปรึกษาอย่างเพียงพอกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆได้รับการผสมผสานกัน รัฐบาลไทยรายงานว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถมีส่วนร่วมตามบทบาทและความเชี่ยวชาญของตนได้ ในขณะที่รายงานของภาคประชาสังคมได้กล่าวว่าความพยายามเหล่านี้ไม่เพียงพอและไม่ได้ผล ภาคประชาสังคมบางกลุ่มแห่งได้วิจารณ์ว่าการหารือของรัฐบาลเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแผนการดำเนินการของรัฐบาลถูกจำกัดอยู่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำและการมองอย่างแคบๆซึ่งส่งผลให้ “กลุ่มชนกลุ่มน้อยจำนวนมากและคนธรรมดา” ถูกมองข้าม25

รายงานเงาที่มีต่อการทบทวนโดยสมัครใจของประเทศไทยรายงานว่าภาคประชาสังคมนอกจากไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในกระบวนการทบทวนโดยสมัครใจแห่งชาติแล้ว “การเป็นหุ้นส่วนกับภาคประชาสังคมในฐานะที่เป็นพันธมิตรที่เท่าเทียมกัน” ก็ยังไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามรายงานฉบับนี้ยังระบุด้วยว่าภาครัฐมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน และรัฐบาลมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคมในความพยายามที่จะบรรลุบางเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน26

ในปีพ. ศ. 2560 ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ลำดับที่ 55 จาก 157 ประเทศในดัชนีที่จัดตั้งขึ้น “เพื่อช่วยให้ประเทศต่างๆสามารถตรวจสอบได้ว่าพวกเขายืนอยู่ที่จุดใดในเรื่องที่ปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประเทศไทยได้ลงทุนอย่างมากในการลดความยากจน (เป้าหมายที่ 1) และทำให้มั่นใจได้ว่ามีการการเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาล (เป้าหมายที่ 6) อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นสำหรับประเทศไทยที่จะบรรลุความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญในทุกเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน27

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

47SWe
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!