การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 20 ของประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.90 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกหรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 327 ตัน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดังกล่าวสอดคล้องกับอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคนที่ปริมาณ 4.7 ตัน ซึ่งต่ำกว่าอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกต่อคนเล็กน้อยที่ปริมาณ 4.80 ตัน 1  ประชากรและขนาดของเศรษฐกิจของประเทศได้รับการรายงานว่าเป็น 2 ตัวขับเคลื่อนหลักของตัวเลขเหล่านี้ทั่วโลก

อุทกภัยในแม่น้ำเจ้าพระยาครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างใกล้กับกรุงเทพมหานคร ภาพโดยข่าวสารประเทศไทย แหล่งข้อมูลจากกูเกิ้ลอิมเมจ ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ CC BY 2.0

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นที่ประจักษ์แล้วทั่วโลก ประเทศไทยในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มแม่น้ำโขงกำลังพยายามจัดการกับผลกระทบเหล่านี้ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากแรงกดดันต่อระบบนิเวศที่เกิดจากการพัฒนาเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่  การตัดไม้ทำลายป่า  การกัดเซาะชายฝั่งทะเล และ ความเป็นเมือง  ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 70 ล้านคนและมีความเสี่ยงจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบสุดขั้ว เช่น อุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งกำลังเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ

ตัวอย่าง เช่น ในปี 2554 ประเทศไทยประสบกับอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ต้องใช้งบประมาณเพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟูจำนวน 46 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครต้องใช้งบประมาณซ่อมแซมและฟื้นฟูรวมทั้งสิ้นจำนวน 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ วิกฤตอุกทกภัยในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวน 13 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 680 คน 2

เมื่อเร็วๆ นี้  ศูนย์ข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติได้บันทึกช่วงสำคัญของภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำและเป็นเวลานานระหว่างปี 2558 และ 2559 ส่งผลให้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีระดับต่ำ ในปี 2559 ภัยแล้งได้ลดช่วงเวลาเพาะปลูกรวมทั้งผลิตผลการเกษตรอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้จากการศึกษาทางด้านเศรษฐกิจโดยเน้นแนวโน้มของสภาพอากาศที่สุดขั้วตลอดลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการคาดการณ์ว่าในช่วง 2 ทศวรรษข้างหน้าภัยแล้งรุนแรงสามารถสร้างผลกระทบต่างๆของการผลิตข้าวในพื้นที่ชลประทานในช่วงฤดูแล้ง โดยระดับของผลผลิตรวมจะลดลงร้อยละ 30.90  3

ชาร์ทจัดทำโดย ODM เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 แหล่งข้อมูล: เครื่องมือชี้วัดการวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศ ผู้สำรวจข้อมูลภูมิอากาศ  4

ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เป็นอีกหนึ่งผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งคุกคามการดำรงชีวิตของชุมชนชายฝั่งทะเล ตัวอย่าง เช่น  การรุกล้ำของน้ำเค็มส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย ทำให้มีความอ่อนไหวของป่าชายเลนและการเสื่อมโทรมของปะการัง ผลกระทบเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงการบริการระบบนิเวศโดยผ่านทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้และการประมงในภูมิภาคนี้รวมทั้งการพึ่งพาให้เป็นแหล่งรายได้ของประชาชน จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลปานกลางในท้องถิ่น 5 มิลลิเมตรต่อปีในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาในภูมิภาคนี้ สามารถกล่าวได้ว่าเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินในบริเวณปากแม่น้ำ และหากปรากฏการณ์นี้ไม่ได้รับความสนใจในการแก้ไขอาจเกิดปัญหาแผ่นดินชายฝั่งในพื้นที่ตอนบนของอ่าวไทยทรุดตัวอย่างรุนแรงในอนาคต 5

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าเป็นเมืองที่อ่อนไหวต่อผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุทกภัยเนื่องจากทั้งระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและเหตุการณ์ฝนตกอย่างสุดขั้ว ตัวอย่าง เช่น กรณีศึกษาสมมุติสถานการณ์ให้อุณหภูมิอากาศสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียสโดยไม่มีมาตรการปรับตัวใดๆมีการคาดการณ์ว่ากรุงเทพมหานครจะเผชิญกับอุทกภัยรุนแรง ภายใต้สมมติฐานที่แตกต่างกัน ร้อยละ 40 ของพื้นที่เมืองจะถูกน้ำท่วมอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ฝนตกหนักอย่างสุดขั้วและมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 15 เซนติเมตรภายในปี พ.ศ.2573 ที่มากกว่านั้นคือหากเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2623 จะทำให้เกิดน้ำท่วมครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 70 ของพื้นที่เมืองของกรุงเทพมหานครโดยมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 88 เซนติเมตร  6 

ความเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมมีโอกาสที่จะทำให้ประเด็นด้านสังคมในปัจจุบันแย่ลง เช่น ความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจตกต่ำ ความไม่มั่นคงทางอาหาร ความเหลื่อมล้ำหรือความยากจนและทำให้เกิดการทำลายวิถีชีวิตและการสร้างรายได้อย่างกว้างขวาง อ้างถึงดัชนีความเสี่ยงด้านอากาศโลกในระยะยาวซึ่งจัดทำโดยกลุ่มนักคิดเยอรมันวอช (GermanWatch) ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสูงที่สุดลำดับที่ 10 ของความอ่อนไหวและการได้รับผลกระทบโดยตรงจากความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ สำหรับระยะเวลา 20 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2558 ในช่วงเวลาที่เผยแพร่รายงานถูกจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 53 จากทั้งหมด 181 ประเทศทั่วโลก 7

ความเป็นไปได้ของขนาดของผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน่าจะมีต่อทรัพยากรที่มีความเสี่ยง เช่น โครงสร้างพื้นฐานในเมืองและในชนบท ผลิตภาพของแรงงาน การผลิตพืช เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ หรือการจัดบริการของระบบนิเวศ ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้เป็นประเด็นความกังวลหลัก การศึกษาตามแนวทางปกติ เช่น การติดตามความอ่อนไหวของสภาพอากาศ 8 ประมาณการต้นทุนรวมของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมูลค่า 180 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี  ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2573 อย่างไรก็ตามตัวเลขในห้วงเวลานี้ไม่ค่อยสอดคล้องกับแบบจำลองสภาพภูมิอากาศต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือก การวิเคราะห์มูลค่าที่มีความเสี่ยงสามารถแสดงผลลัพธ์ที่ชี้ให้เห็นว่าผลิตภาพแรงงานลดลงเป็นต้นทุนที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่าความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานคิดเป็นประมาณร้อยละ 14 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในชนบททั้งหมด 9

นโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การทำงานร่วมกันกับประเทศอื่น ๆ ในการรักษาเสถียรภาพของสภาพภูมิอากาศโลกถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ ประเทศไทยได้ดำเนินการหลายขั้นตอนเพื่อกำหนดนโยบายเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นด้านสภาพอากาศ

ก่อนข้อตกลงปารีสซึ่งเห็นชอบร่วมกันเมื่อปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยได้ยื่นแผนกำหนดเป้าหมายในระดับประเทศ แผนดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20-25 จากแนวทางการดำเนินการธุรกิจตามปกติในปี พ.ศ. 2573 10 

องค์การระดับชาติต่างๆ เช่น  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินการผนวกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่การวางแผนและการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล  นโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญระดับชาติที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศประกอบด้วย:

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (สศช.) (2560-2564) 11

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 มียุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีเป็นแผนชี้นำ (พ.ศ.2560-2579) 12 และรวบรวมจากข้อตกลงปารีสเมื่อปี พ.ศ.2558  ประเทศไทยได้เลือกที่จะรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 13 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นแนวทางในการบรรลุ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติและได้พัฒนารูปแบบนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อเป็นแนวทางในการแปลงแผนปฏิบัติการเหล่านี้สู่การปฏิบัติ 14

แผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (พ.ศ.2558-2593)

แผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (พ.ศ.2558-2593) ได้รับการพัฒนาโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรอบนโยบายแบบบูรณาการและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนแม่บทดังกล่าวได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศและเป็นสังคมคาร์บอนต่ำที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในปี พ.ศ.2593 ปัจจุบันมีการร่างแผนปรับตัวในระดับชาติของประเทศ (2015-2023) และอยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติงาน 15

การยื่นแผนกำหนดเป้าหมายในระดับประเทศของประเทศไทยไปยังอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอ้างถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย แผนพัฒนาโรงไฟฟ้า (พ.ศ.2558-2579) แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจริยะแห่งชาติ (พ.ศ.2558-2579) แผนพัฒนาพลังงานทดแทน (พ.ศ.2558-2579) แผนงานระบบความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2556-2573) แผนพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2574) และแผนการจัดการขยะและอื่น ๆ 16

หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

GeZW7
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!