กฎหมายและนโยบายสำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ประเทศไทยกำลังดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้ง 10 จังหวัดทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ร่าง พรบ. เขตเศรษฐกิจพิเศษ กฎหมายเฉพาะที่เป็นกฎหมายแม่บทกำกับดูแลในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษยังอยู่ในกระบวนการทางนิติบัญญัติ ซึ่งใช้ระยะเวลานาน เพื่อเข้าใจผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งแง่บวกและแง่ลบจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ การศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวทางของอาเซียน จึงมีความสำคัญยิ่ง1

การติดตามบทบาทการทำงานของสถาบันรัฐที่กํากับดูแลการทํางาน และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ อาทิเช่น สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) และมาตรการที่อยู่นอกเหนือจาก BOI จึงมีความสำคัญยิ่งเพื่อให้การดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ภาคประชาสังคมมีบทบาทสำคัญดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นการลงทุนของภาครัฐที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเกี่ยวกับการถือครองและจัดการที่ดิน มาตรการจัดการแรงงาน มาตรการด้านสาธารณสุข เป็นต้น

นโยบายการถือครองและจัดการที่ดินที่เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อสร้างฐานการผลิตเชื่อมโยงกับอาเซียนและพัฒนาเมืองชายแดน และอาศัยมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ได้มีคำสั่งอย่างต่อเนื่องเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างรวดเร็ว2 เช่น

นอกจากคำสั่งข้างต้น ยังมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่เกี่ยวข้องกับการเพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อาทิเช่น  

จากนโยบายและคำสั่งการจัดหาที่ดินและการบริหารจัดการที่ดินเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว เป็นการให้เพิกถอนที่ดินจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าไม้ถาวร ที่ดินสาธารณะ และกฎหมายการผังเมืองกลายเป็นข้อยกเว้น โดยจัดหาที่ดินให้เป็นที่ราชพัสดุหรือให้แก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อนำมาใช้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ3

ทั้งๆ ที่การใช้กลไกด้านกฏหมายได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง ประชาชนในพื้นที่ยังขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำดังกล่าว จึงไม่นำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ในระยะยาว นอกจากนี้ กระบวนการทำงานในการกำหนดเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษยังไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนและไม่ได้ใส่ใจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่4

นโยบายส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ปัจจุบัน เอกชนขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้แล้ว โดย BOI ได้ออกมาตรการเสริมสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องให้กลุ่มนักลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทย จะเห็นได้จากประกาศ กกท.ที่ 4/2557 เรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่จัดสรรสิทธิประโยชน์ให้กิจการเป้าหมายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (ตารางที่ 1 ด้านล่าง) ซึ่งเป็นไปตามประกาศ กกท.ที่ 1-5/2558 โดยมาตรการเพิ่มเติม คือ ประกาศกิจการเป้าหมายในเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมอีก 10 ประเภท ตามประกาศ กกท. ที่ 17-21/2558 และประกาศ กกท. ที่ 1-4/2559

ตารางที่ 1. กลุ่มกิจการเป้าหมายในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

กลุ่มอุตสาหกรรมตากสระแก้วตราดมุกดาหารสงขลาหนองคายนครพนมเชียงราย กาญจนบุรีนราธิวาส
1. อุตสาหกรรม การเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้องใช้สิทธิ ประโยชน์ ที่ได้รับ ภายใต้ เขตพัฒนา พิเศษเฉพาะกิจ จังหวัด ชายแดนภาคใต้
2. การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
3. อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องหนัง
4. การผลิตเครื่องเรือน
5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
6. การผลิตเครื่องมือแพทย์
7. อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร และชิ้นส่วน
8. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
9. การผลิตพลาสติก
10. การผลิตยา
11.กิจการโลจิสติกส์
12. นิคมหรือเขต อุตสาหกรรม
13. กิจการสนับสนุนการท่องเที่ยว

แต่สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI ก็สามารถได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีการผ่อนปรนเงื่อนไขการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การจัดสินเชื่อเพื่อการลงทุน และการเข้าถึงแรงงานต่างด้าวค่าจ้างขั้นต่ำ5

นโยบายด้านแรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เห็นชอบการจัดระบบการจ้างคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และ กัมพูชา ที่เข้ามาทำงานในลักษณะแบบไป-กลับ หรือตามฤดูกาล ตามมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551

อีกทั้ง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดท้องที่ สัญชาติ ประเภทหรือลักษณะงาน ช่วงเวลาหรือฤดูกาล หรือเงื่อนไขที่คนต่างด้าวอาจขอรับใบอนุญาตทำงานได้รับความเห็นชอบ และอนุมัติจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (OSS) ด้านแรงงาน ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 พื้นที่เรียบร้อยแล้ว6

เนื่องด้วยความต้องการคนต่างด้าวที่เพิ่มมากขึ้น พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2561ที่ผ่านมา จึงได้มีการประกาศใช้พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากจำนวนคนต่างด้าวที่ทำงานในไทยเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กราฟด้านล่างแสดงจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในราชอาณาจักรไทย สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางานมีการคาดการณ์ว่า ความต้องการแรงงานจำแนกตามจังหวัดภายใน 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) จะมีอัตราที่เพิ่มขึ้น7 ประเด็นหลัก คือ การลดความต้องการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง การแต่งตั้งหน่วยงานที่ช่วยในกระบวนการจ้างงานแรงงานให้แก่นักลงทุน และการปรับปรุงบทลงโทษแรงงานต่างด้าวที่กระทำความผิด

นโยบายด้านสาธารณสุขในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ  นำมาซึ่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการหลั่งไหลของแรงงานต่างด้าว ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และปัญหาด้านสาธารณสุขเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ผู้ใช้บัตรผ่านแดนเพิ่มขึ้น และคนงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนมี 210,124 คน แต่คาดการณ์ว่าที่เข้ามาทำงานจริงมีถึง 615,031 คน ส่งผลต่อปริมาณผู้รับบริการด้านสาธารณสุขที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้ง มีการคาดการณ์ว่าโรคที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีทั้งโรคติดต่อ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรม โรคที่เกิดจากวิถีชีวิตอันเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม การบาดเจ็บทางถนน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพจิต8 หากเกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเต็มรูปแบบอาจส่งผลต่อภาระงานของกำลังคนด้านสุขภาพในอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องมีการเตรียมแผนการรองรับปัญหาด้านกำลังคนในจังหวัดในส่วนของด่านสาธารณสุขในจังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้น พบว่ามีด่านสาธารณสุขทั้งหมด 41 แห่ง จำแนกเป็น 2 ด่านใหญ่ๆ คือ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และด่านอาหารและยา

โครงการส่งเสริมสาธารณสุขให้แรงงานต่างด้าวที่ตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว  ที่มา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว.

กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุข เพื่อรองรับแขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2560-2564 สำหรับเป็นกรอบในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีของประชาชนอย่างทั่วถึง9  

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

VNMFy
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!