SDG 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6 มุ่งมั่นที่จะ “ให้มีน้ำเพื่อใช้ประโยชน์และมีการจัดการน้ำและสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน” นับเป็นเป้าหมายที่เป็นความท้าทายสำคัญที่จะเข้าถึงสำหรับทุกประเทศ (ร้อยละ 40 ของคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำ) รวมทั้งประเทศไทย1,2 ความคืบหน้าเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6 วัดได้จาก 8 เป้าหมายและ 11 ตัวชี้วัด ซึ่งสามารถดูได้จากตารางที่ 1 ด้านล่าง และหากประสบความสำเร็จจะแสดงถึงความสำเร็จของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6  

ตารางที่ 1: เป้าหมายและตัวชี้วัดของ ​SDG 6

วัตถุประสงค์ของ SDG 6 คือ ให้มีน้ำเพื่อใช้ประโยชน์และมีการจัดการน้ำและสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคน​
ที่มา: UNSDG Knowledge platform: เป้าหมาย และตัวชี้วัด SDG 6
เป้าหมายตัวชี้วัด
6.1 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ภายในปี 25736.1.1 ร้อยละของประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มที่ได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย
6.2 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงสุขอนามัยที่พอเพียงและเป็นธรรม และยุติการขับถ่ายในที่โล่ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิง และกลุ่มที่อยู่ใต้สถานการณ์ที่เปราะบางภายในปี 25736.2.1 ร้อยละของประชากรที่ใช้บริการสุขอนามัยได้รับการจัดการอย่างปลอดภัย รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ
6.3 ยกระดับคุณภาพน้ำโดยลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีและวัสดุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านกระบวนการลงครึ่งหนึ่งและเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่ทั่วโลกภายในปี 25736.3.1 ร้อยละของจำนวนประชากรที่ใช้ส้วมถูกสุขลักษณะ
6.3.2 ร้อยละของตัวของน้ำ ( เช่น มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบ, แม่น้ำ, ธารน้ำ, คลอง, หรือสระน้ำ) ที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบที่ดี
6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำ และจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำภายในปี 25736.4.1 ร้อยละความเปลี่ยนแปลงของการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทุกช่วงเวลา
6.4.2 ร้อยละของปริมาณน้ำที่สามารถใช้ประโยชน์ถูกใช้ไป โดยนำความต้องการน้ำของสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาร่วมด้วย
6.5 ดำเนินการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมในทุกระดับ รวมถึงผ่านทางความร่วมมือระหว่างเขตแดนตามความเหมาะสมภายในปี 25736.5.1 ระดับการด่าเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบรูณาการ IWRM (0-100)
6.5.2 สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำที่ข้ามเขตแดนมีการจัดการดำเนินงานเพื่อความร่วมมือด้านน้ำ
6.6 ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำรวมถึงภูเขาป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำ และทะเลสาบภายในปี 25636.6.1 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงในบริบทของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำทุกระยะเวลา
6.a ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศและการสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในกิจกรรมและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขอนามัย ซึ่งรวมถึงด้านการเก็บน้ำ การขจัดเกลือ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการน้ำเสีย เทคโนโลยี การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่6.a.1 ปริมาณน้ำและสุขอนามัยที่เกี่ยวข้อง กับเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (official development assistance-ODA) ที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนบรูณาการการใช้จ่ายของรัฐบาล
6.b สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการจัดการน้ำและสุขอนามัย6.b.1 ร้อยละของหน่วยงานบริหารท้องถิ่นที่จัดตั้งและวางนโยบายปฏิบัติการ และวิธีการดำเนินงานเพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในเรื่องการจัดการน้ำและสุขอนามัย

เป้าหมายเหล่านี้ได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมแบบองค์รวมครอบคลุมประเด็นต่างๆที่นอกเหนือไปจากการเข้าถึงน้ำและยังช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น คุณภาพน้ำ (เป้าหมาย 6.3) และประสิทธิภาพการใช้น้ำ (เป้าหมาย 6.4) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้จำเป็นต้องมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขาภิบาลและการส่งเสริมสุขอนามัยในทุกระดับ3 การบรรเทาการขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะต้องมีการป้องกันและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าไม้ และสภาพแวดล้อมบนภูเขา

ภาพรวมสถานการณ์ของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6

เป็นโชคดีของประเทศไทยที่มีทรัพยากรน้ำอย่างเพียงพอ ประเทศไทยได้รับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,374 มิลลิเมตรต่อปีซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 990 มิลลิเมตรอย่างมาก4

ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันประเด็นปัญหาปริมาณน้ำไม่ค่อยได้รับความกดดันมากเท่ากับเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีคุณภาพน้ำที่เพียงพอซึ่งถือได้ว่าเป็นความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับความพยายามในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6

 

รูปที่ 1. จุดแข็งและจุดอ่อนด้านความมั่นคงด้านน้ำ และศักยภาพในการพัฒนาเรื่องน้ำของประเทศไทย5

ใน ปีพ.ศ. 2560 ประเทศไทยได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เพื่อให้บรรลุตัวชี้วัดต่างๆ ของเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนที่ 6 ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทย สามารถเข้าถึง “น้ำดื่มสะอาด” และ 93% มีสุขอนามัยที่ดีขึ้น 6 สอดคล้องกับที่กล่าวมานี้ รายงานการทบทวนโดยสมัครใจระดับชาติของประเทศไทยได้รายงานว่า “เกือบร้อยละ 100” ของครัวเรือนสามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขาภิบาล7

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถลดอัตราการตายของทารก และลดโรคที่เกิดจากน้ำ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายที่กำหนดให้รัฐบาลทุกระดับต้องจัดหาน้ำสะอาดและสุขาภิบาลในเขตพื้นที่ซึ่งตนเองรับผิดชอบ และเพื่อให้ได้ระดับคุณภาพตามมาตรฐานแห่งชาติสำหรับคุณภาพของน้ำดื่ม8

 

รูปที่ 2. การบริโภคน้ำต่อวันต่อคนในประเทศไทย9

ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นว่าการเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลถือเป็นสิทธิมนุษยชน ดังนั้น แม้ว่าประชากรชาวไทยส่วนใหญ่จะเข้าถึงน้ำดื่ม แต่ในความเป็นจริงคนไทยบางส่วนก็ยังไม่เข้าถึงน้ำดื่ม ซึ่งหมายความว่าพวกเขายังไม่สามารถตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน10 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6 มุ่งหวังว่า “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ดังนั้น จึงเน้นกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสและกลุ่มคนชายขอบ เช่น กลุ่มชนพื้นเมืองของไทย ร่วมกับความพยายามในการติดตามและลดความเหลื่อมล้ำในการให้บริการน้ำดื่ม จะช่วยให้มั่นใจได้ในความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6 โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มคนที่มีความต้องการมากที่สุด 11 ความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทยซึ่ง “มุ่งมั่น” เพื่อเอาชนะความท้าทายด้านน้ำและสุขาภิบาลในพื้นที่ชนบท12

ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายเพิ่มเติมคือการทำให้มั่นใจได้ว่ามีปริมาณน้ำดื่มสะอาดเพียงพอในอนาคต แม้จะมีการเข้าถึงน้ำดื่มในระดับสูง ในปัจจุบันการตัดไม้ทำลายป่าและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผสมผสานกับความต้องการใช้น้ำจากอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้น13 นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ขยะอุตสาหกรรม และน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัด  ขณะนี้ไหลเข้าสู่ทางน้ำหลายสายของประเทศไทย การบำบัดน้ำเสียยังเป็นอีกประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน แม่น้ำในเขตเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานครอาจถูกปนเปื้อนได้ง่าย อันเนื่องมาจากโรงงานที่ปล่อยมลพิษออกมา14 ซึ่งรวมถึงสารกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ย สิ่งปฏิกูลในเขตเมืองและสารเคมีตกค้าง แค่เพียงร้อยละ 15 ของปริมาณน้ำที่บริโภคทั้งหมดได้รับการบำบัดน้ำเสียซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำ ทำให้กระตุ้นให้องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยว่า “การทำให้สุขาภิบาลจากน้ำเป็นจุดเน้นที่สำคัญสำหรับการลงทุน”15 ปัจจุบันมีโรงบำบัดน้ำเสียมากกว่า 100 แห่ง รวมทั้งโรงงานจัดการขยะและน้ำเสียมากกว่า 1,500 แห่ง โดยมีแผนจะสร้างโรงงานบำบัดเพิ่มอีก 19 แห่ง และคาดว่าจะเพิ่มความสามารถในการบำบัดน้ำเสียของประเทศไทยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปีในอนาคต

 

รูปที่ 3. พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ16

มีความจำเป็นต้องจัดการกับความท้าทายด้านการเกษตรในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่  ปัจจุบันมีเพียง 1 ใน 6 ของพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาระบบชลประทานโดยที่ดินส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เกษตรกรที่อยู่นอกภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายอันเนื่องมาจากความไม่สมดุลของปริมาณน้ำฝนและภัยคุกคามที่เกิดจากภัยแล้ง17 ความพยายามของประชาชนรากหญ้าในการปรับปรุงระบบชลประทานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และกรมชลประทานพร้อมกับองค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กรกำลังทำงานเพื่อกระจายโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานในประเทศไทยให้เท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น ความพยายามเหล่านี้กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

หลัก 3 ประการ ของการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย

กำลังมีการวางแผนเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้และเพื่อบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดจากความท้าทายที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2558–2569 ของรัฐบาลไทย เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในประเทศไทย18 ความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการโดยใช้แนวทางแบบองค์รวมทั้งในแง่ของประสิทธิภาพการใช้น้ำและโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรน้ำ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้น้ำในอนาคตได้

ตารางที่ 2: ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

ยุทธศาสตร์เป้าประสงค์
ยุทธศาสตร์ที่ 1:
การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค
จัดหาน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภคให้แก่ชุมชน ครอบคลุมทุกหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมทั้งในพื้นที่เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ​
ยุทธศาสตร์ที่ 2:
การสร้างความมั่นคงของน้ำต่อภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม)
บริหารจัดการความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมให้สมดุลกับน้ำต้นทุนและรวมต้องการใช้น้ำ ลดความสุญเสียน้ำ และเพิ่มมูลค่าน้ำของประชาชน จัดกาน้ำต้นทุนเพื่อการใช้น้ำขั้นพื้นฐานและรักษาระบบนิเวศ จัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตรตามศักยภาพ และจัดหารแหล่งน้ำต้นทุนเพื่ออุตสาหกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 3:
การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย
ลดความเสียหายจากอุทกภัยของชุมชนเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญที่มีผลกระทบรุนแรงและความเสียหายสูง ลดความเสียหายในพื้นที่เกษตร และสนับสนุนการปรับตัวในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยซ้ำซาก และลดความเสียหายจากน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมฉับพลันในหมู่บ้านเสี่ยงภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 4:
การจัดการคุณภาพน้ำ
แหล่งน้ำทั่วประเทศมีคุณภาพน้ำอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 􏰂โดยให้มีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย และลดมลพิษจากแหล่งกำเนิด และแหล่งน้ำเสื่อมโทรมได้รับการแก้ไขฟื้นฟูยกระดับให้ดีขึ้น และควบคุมความเค็มปากแม่น้ำ ณ จุดควบคุม
ยุทธศาสตร์ที่ 5:
การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และป้องกันการพังทลายของดิน
ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ให้ได้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ และป้องกันการสูญเสียหน้าดินและพื้นที่ดินถล่มในพื้นที่เกษตรลาดชัน
ยุทธศาสตร์ที่ 6:
การบริหารจัดการ
มีองค์กร กฎหมาย ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่กำหนดนโยบายและขับเคลื่อนแผนที่เป็นเอกภาพ มีระบบข้อมูลใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต สร้างความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการติดตาม และระบบติดตาม ประเมินผลและบำรุงรักษาอาคารชลประทาน

รูปที่ 4. หลัก 3 ประการ ของการจัดการน้ำในประเทศไทย19

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อ้างถึงรัฐบาลตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่กำลังดำเนินการเพื่อ:

  • แก้ปัญหาทรัพยากรน้ำที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง
  • บูรณาการการจัดการน้ำในลักษณะที่เหมาะสม
  • ความสมดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ขยายการศึกษาแผนยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำที่มีอยู่และแผนปฏิบัติการ20

แผนนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช​ รัชกาลที่ 9 และพยายามที่จะส่งเสริมแนวทางแบบองค์รวมและแบบบูรณาการในการจัดการน้ำ ในขณะเดียวกันก็มุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอื่นๆ ควบคู่กันไป21 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงตั้งมูลนิธิมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อ พ.ศ. 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับมือกับประเด็นการพัฒนาที่เกี่ยวกับน้ำ ในปีพ.ศ. 2560 มากกว่า 600 หมู่บ้านได้บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชี้นำความพยายามในการพัฒนาน้ำโดยอาศัยความร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์22    

รัฐบาลยังได้ทำงานเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่ชนบทและชุมชนเกษตรกรรม ตัวอย่าง เช่น ในปี พ.ศ. 2559 ในช่วงฤดูแล้งที่รุนแรงรัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าทรัพยากรน้ำได้รับการจัดการเพื่อเข้าถึงพื้นที่ที่จำเป็นเร่งด่วนที่สุด รัฐบาลให้การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและให้การสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยลง23

 

รูปที่ 5. ผลกระทบของอุทกภัยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง24    

การตอบสนองจากภาคประชาสังคม

กลุ่มประชาสังคมต่างๆ ได้รับทราบถึงความพยายามของรัฐบาลในการจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความยั่งยืนมากขึ้น แต่หลายคนให้เหตุผลว่ายังคงมีบางอย่างที่ต้องปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการเรียกร้องให้มีการปรึกษาหารือเพิ่มเติมกับชุมชนท้องถิ่นเมื่อดำเนินการโครงการจัดการน้ำเพื่อปรับปรุงการบำบัดน้ำเสีย เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามซึ่งแหล่งต้นน้ำกำลังเผชิญอยู่และเพื่อปรับปรุงการศึกษาของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นการอนุรักษ์น้ำ25 พวกเขายังให้ความสนใจกับความจริงที่ว่าประชากรที่เพิ่มมากขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและภัยคุกคามที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้การจัดการน้ำอย่างยั่งยืนทำได้ยากขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้า 26 ดังนั้น พวกเขากำลังกดดันให้รัฐบาลวางแผนล่วงหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตน้ำเกิดขึ้นอีกในอนาคต

อันดับความก้าวหน้าของประเทศไทยจนถึงปัจจุบันสนับสนุนทั้งมุมมองของรัฐบาลว่ามีความก้าวหน้ามากขึ้นในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6 ตลอดจน การวิจารณ์ของภาคประชาสังคมว่ายังคงมีช่องทางในการปรับปรุง ความพยายามของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6 ได้รับการจัดอันดับเป็น “สีเหลือง” โดยดัชนีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลก ระดับที่พวกเขาใช้อยู่ในช่วงตั้งแต่สีเขียวหมายถึงบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถึงสีเหลือง สีส้ม และสีแดง ซึ่งแต่ละสีแสดงถึงระยะห่างที่เพิ่มขึ้นจากการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน สถานะสีเหลืองของไทยถูกกำหนดจากความจริงที่ว่าการเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลที่ดีขึ้นยังคงไม่ถึงร้อยละ 100 แม้ว่าน้ำจืดจะมีสัดส่วน ร้อยละ 13.10 ของทรัพยากรน้ำหมุนเวียนทั้งหมด27 และการขาดน้ำใต้ดินที่นำเข้าคือ 2.9 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปีต่อคน ทั้งสองคะแนนให้สถานะ “สีเขียว” ตามดัชนีการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและการทำงานเพื่อให้บรรลุทุกตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 6 จะช่วยให้มั่นใจได้ว่ามีความยืดหยุ่นและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยจะเกิดขึ้น และการขาดแคลนน้ำไม่เป็นอุปสรรคมากนักที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้า ประเทศไทยรวมทั้งพันธมิตรด้านการพัฒนาและประชาคมระหว่างประเทศต้องร่วมมือกันในการแบ่งปันเทคโนโลยี และเพื่อให้แน่ใจในการจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกันอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นความพยายามที่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะถูกกำหนดไว้อย่างเหมาะสมเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก28   

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการของภาคประชาสังคมของไทยต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

82mH4
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!