การระบาด

โควิด 19 (COVID-19)ในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกนอกประเทศจีน ที่มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา (หรือ โควิด 19) โดยพบรายแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563  กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศในวันที่ 1 มีนาคม 2563 ว่า  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตรายภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558  นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกพื้นที่ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยบังคับใช้สถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันประกาศจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 และมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาออกไปอีกหนึ่งเดือน 

จากรายงานสถานการณ์โควิด 19 จากศูนย์ควบคุมสถานการณ์โควิด 19 (CCSA) กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข) เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้ว 7,694 ราย มีผู้เสียชีวิต 64 ราย และมีผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาในโรงพยาบาล 3,293 ราย นอกจากนี้ ข้อมูลสำคัญควรรู้เกี่ยวกับ Covid-19 มีการเผยแพร่และอัปเดตต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

มาตรการด้านสาธารณสุข

ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้เริ่มใช้มาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโควิด 19 อาทิเช่น มาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และมาตรการคัดกรองในทุกด่านตรวจลงตราเข้าประเทศ รวมถึงแนวทางปฏิบัติกักกันโรคสำหรับนักเดินทางที่เข้าประเทศจากประเทศที่กำหนดให้เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย1,2 คนไทยทุกคนที่มีไข้สูงและมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อโควิด 19 ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองในโรงพยาบาลและ/หรือเฝ้าระวังตัวเอง นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ต่อโรคติดเชื้อโควิด 19 ประเทศไทยมีสถานกักกันโรค 766 แห่งทั่วประเทศ สามารถรองรับได้ถึง 21,302 คน กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คลิกที่นี่ดูประกาศที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ มีมาตรการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก โดยการระบุเกณฑ์ผู้ป่วยภายใต้การสอบสวน (Patient under Investigation – PUI) โดยเน้นกลุ่มต้องสงสัยและกลุ่มเสี่ยงติดโรคโควิด 19 เช่น ผู้ที่ติดต่อกับคนที่เดินทางกลับจากประเทศเพื่อนบ้าน จากรายงาน ณ วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนมากกว่า 110,000 คน

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเข้าร่วมโครงการ “Solidarity Trial” ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นโครงการวิจัยทางการแพทย์ที่​หลายประเทศร่วมกันคิดค้นยารักษาโรคโควิด 19 

Preventive measurement at the hospital by ILO/Alin Siirisaksopit from Flickr under CC-BY-NC-ND 3.0 IGO.

มาตรการสาธารณสุขเชิงป้องกันที่โรงพยาบาล โดย ILO/Alin Siirisaksopit จาก Flickr ภายใต้ CC-BY-NC-ND 3.0 IGO

การใช้เทคโนโลยีกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของแนวทางการจัดการการระบาดโรคไวรัสโคโรนาของประเทศไทย ทั้งเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่อย่างแชทบอท (เช่น Covid19Bot, สบายดีบอท, DGA Chatbot​ เป็นต้น) และแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (เช่น เว็บรายงานสถานการณ์ COVID-19, แผนที่ข่าว COVID-19, Workpoint News ฯลฯ) เป็นเครื่องมือสำคัญที่พัฒนาขึ้น​โดยผู้เชี่ยวชาญอาสาหลายภาคส่วน เพื่อแจ้งให้สาธารณชนทราบข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม สถานที่เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของตำแหน่งร้านขายยาและโรงพยาบาลและเบอร์ติดต่อที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังมีแอปพลิเคชันมือถือจำนวนมากที่พัฒนาให้มีฟังก์ชันติดตามการติดต่อของโรคไปจนถึงการประเมินระยะทางไปยังจุดบริการโควิด​ 19 ที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น  หมอชนะ, Away Covid-19, Card2U, and GooCare  

มาตรการด้านกฎหมาย

ก่อนการประกาศใข้สถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ รัฐบาลไทยได้ริเริ่มมาตรการเร่งด่วน 14 ข้อ​เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด 19 และภายหลังจากประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว มีการบังคับใช้กฎหมาย ประกาศและกฎกระทรวง​ต่าง ๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในประเทศไทย ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในช่วงเดือนแรก มาตรการหลักจากส่วนกลาง คือกำหนดเวลาออกนอกเคหะสถานหรือช่วงเวลาเคอร์ฟิวทั่วประเทศ จำกัดกิจกรรมกลุ่ม เช่น ปิดโรงเรียนและชะลอวันหยุดปีใหม่ไทย/วันสงกรานต์ สถานที่ขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงเพราะจะมีคนจำนวนมากมารวมตัวกัน เช่นห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา และสถานบันเทิงต่าง ๆ ได้รับคำสั่งให้ปิดทำการชั่วคราว การปิดพื้นที่ (Lockdown measure) ถือเป็นมาตรการที่ผู้ว่าราชการของแต่ละจังหวัดจะประกาศปิดพื้นที่ห้ามเข้า-ออกตามดุลยพินิจ

ODT ได้รวบรวมกฎหมาย ประกาศ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19 ในประเทศไทยค้นหาได้ที่นี่

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและมาตรการเยียวยา

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบให้สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยต้องหยุดชะงัก

แม้ภาครัฐจะมีการเปิดตัวแพคเกจทางเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะมีออกมาเพิ่มขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยก็ได้รับความเสียหายอย่างมาก สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคอุตสาหกรรมหลัก ๆ เช่น การท่องเที่ยว สายการบิน รวมถึงกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

หนึ่งในมาตรการทางเศรษฐกิจอนุมัติให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยใช้วงเงินกว่า 1.9 ล้านล้านบาทในการให้สินเชื่อเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ชุดมาตรการดูแลและเยียวยา ได้แก่ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการพักชำระหนี้และขยายเวลาชำระภาษีพิเศษสำหรับผู้ประกอบการและ SMEs เงินช่วยเหลือ 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน สำหรับแรงงานนอกระบบ ลูกจ้าง แรงงานชั่วคราว หรืออาชีพอิสระ และเงินกองทุนประกันสังคมสำหรับเยียวยาแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม เป็นต้น

ผลกระทบต่อสังคมและมาตรการเยียวยา

เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ การระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนและทำให้หลายคนต้องตกงาน การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) และการอยู่บ้าน (Staying at home) เป็นหลักสำคัญสองประการของมาตรการภาครัฐเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ แรงงานอพยพ แรงงาน ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นต้น ที่ต้องประสบกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 นอกจากนี้ ถึงแม้ว่ากรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินมาตรการบางอย่างเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด 19 ในเรือนจำและลดความวิตกกังวลของผู้ต้องขังและญาติแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบข้อกังวลในสภาพความเป็นอยู่ที่แออัดในเรือนจำ ​และความหนาแน่นของจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำที่เกินกว่าความจุถึง 3 เท่า

กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับมาตรการระยะสั้นเป็นอันดับแรก โดยอนุมัติเงินช่วยเหลือสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส มาตรการที่สำคัญเพิ่มเติม คือ การสร้างระบบความคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือประชาชนในระยะกลางและระยะยาว ได้แก่ การให้สวัสดิการขั้นต่ำเป็นหลักประกันสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง การสร้างกลไกการส่งมอบสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ และการเสริมโปรแกรมความคุ้มครองทางสังคมด้วยนโยบายแรงงานที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการของเศรษฐกิจฐานความรู้ได้ เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีได้ส่งจดหมายถึงเศรษฐี 20 คนในประเทศไทย เพื่อระดมความคิดริเริ่มในการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้ทั้งระหว่างและภายหลังการระบาดของโควิด 19

New normal 'staying and dining' at home, with service of food delivery by ILO/Alin Siirisaksopit from Flickr under CC-BY-NC-ND 3.0 IGO.

อยู่บ้านและทานอาหารที่บ้านคือความปรกติใหม่ โดยใช้บริการส่งอาหาร โดย ILO/Alin Siirisaksopit จาก Flickr ภายใต้ CC-BY-NC-ND 3.0 IGO

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นที่น่ายินดี เมื่อได้เห็นผลกระทบเชิงบวกบางประการจากมาตรการป้องกันการระบาดของโควิด 19 เช่นมลภาวะทางอากาศในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ลดลง ได้เห็นสัตว์ป่าหายากในเขตอุทยานแห่งชาติ และสภาพปะการังในทะเลได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ขยะพลาสติกในครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปริมาณแพคเกจใส่อาหารที่จัดส่งให้ที่บ้านเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับขยะติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้ากากอนามัยที่มีปริมาณการใช้งานถึง 1.5-2 ล้านชิ้นต่อวัน

แม้จะมีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งในฤดูแล้งในภาคเหนือของประเทศไทย ไฟป่าในช่วงที่มีมาตรการปิดพื้นที่นั้นกลายเป็นเรื่องเลวร้ายยิ่งกว่า เพราะจำนวนเจ้าหน้าที่และทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดในการจัดการไฟป่า ชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์บนที่ราบสูงมักจะโดนตำหนิว่าเป็นต้นเหตุของไฟป่าในขณะเดียวกับที่แบกภาระควบคุมป้องกันไฟป่าจึงไม่สามารถเข้าป่าในเวลากลางคืนเพื่อช่วยควบคุมไฟป่าและยังสร้างผืนป่าให้สมบูรณ์ขึ้นได้เนื่องจากมาตรการปิดพื้นที่

เลือกชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19 ในประเทศไทยได้ที่นี่

 

ปรับปรุงล่าสุด: 3 มกราคม 2564

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19:

 

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

npW9g
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!