ป่าไม้และวนศาสตร์

ป่าไม้เป็นระบบนิเวศที่สำคัญยิ่งและเป็นแหล่งเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย อีกทั้งเป็นแหล่งทำมาหากินของคนไทยจำนวนมาก

ในปี 2561 ผลิตภัณฑ์จากป่ามีมูลค่าส่งออกรวมโดยประมาณ 118 พันล้านบาท (หรือเทียบเท่า 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ)1 หรือคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของสินค้าและบริการที่ส่งออกทั้งหมด2 ตัวเลขดังกล่าวไม่รวมมูลค่าการบริโภคผลิตภัณฑ์ป่าไม้ภายในประเทศหรือมูลค่าที่ได้จากบริการระบบนิเวศป่าไม้​

หลังจากปริมาณป่าปกคลุมลดลงอย่างชัดเจนในช่วงสองทศวรรษระหว่างปี 2503-2523 ประเทศไทยเริ่มมีเสถียรภาพด้านป่าไม้และเปลี่ยนปริมาณป่าปกคลุมให้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ความท้าทายด้านการกำกับดูแลงานและความขัดแย้งยังคงมีอยู่

Rain Forest in Doi Inthanon, Chiang Mai, Thailand

ป่าดิบเขาบนดอยอินทนนท์​ จ.เชียงใหม่ ​ประเทศไทย. ภาพถ่ายโดย​ @icon0com, pxhere.com. ภายใต้ลิขสิทธิ์ CC0 Public Domain.

ป่าปกคลุมและการเปลี่ยนแปลง

จากรายงานของ FAO พบว่าในปี 2559 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 16.4 ล้านเฮกตาร์ (102.5 ล้านไร่) หรือประมาณร้อยละ 32 ของพื้นที่ทั้งหมด ลดลงเล็กน้อยจากปี 2543 ที่มีประมาณ 17 ล้านเฮกตาร์ (106.25 ล้านไร่) นับว่าเป็นอัตราการตัดไม้ที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในลุ่มน้ำโขง และตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าโดยรวมทั้งประเทศ

การวัดพื้นที่ป่าปกคลุมโดยรวมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจความสมบูรณ์และผลผลิตของป่าไม้ สิ่งสำคัญ คือ ต้องวัดพื้นที่ป่าตามแต่ละประเภท คือ ป่าไม้หลักปฐมภูมิ (เรียกอีกอย่างว่า “ป่าเติบโตแบบดั้งเดิม”) ป่าไม้ธรรมชาติที่เติบโตใหม่ และสวนป่าปลูก

จากข้อมูลของ FAO เนื้อที่ป่าไม้หลักในประเทศไทยมีปริมาณคงที่ 6.73 ล้านเฮกตาร์ (42 ล้านไร่) ตั้งแต่ปี 25433 อย่างไรก็ตาม FAO ยอมรับว่า มีเหตุผลให้ตั้งข้อสงสัย​ในตัวเลขดังกล่าว ​​เนื่องจาก FAO อ้างอิงรายงานของแต่ละประเทศ4 และรัฐบาลไทยถือว่า เนื้อที่ป่าทั้งหมดในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นป่าไม้หลัก5 หากแต่มีรายงานบ่อยครั้งเกี่ยวกับการตัดไม้และไฟป่าในพื้นที่คุ้มครองในช่วงปีที่ผ่านมา6 จึงทำให้ข้อสรุปในรายงานที่ว่า พื้นที่ป่าทั้งหมดในพื้นที่คุ้มครองยังมีจำนวนเท่าเดิม และป่าทั้งหมดในพื้นที่คุ้มครองเป็นป่าไม้หลัก น่าเชื่อถือได้ยาก

“ป่าสงวน” ซึ่งเป็นหมวดหมู่หนึ่งของการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นที่ดินภายใต้ความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ อย่างไรก็ตาม ที่ดินในป่าสงวนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชนบทและพื้นที่เกษตรกรรม และคาดว่ามีประชากรกว่า 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวน7 ชุมชนจำนวนมากอาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลานานก่อนการประกาศเป็นป่าสงวน8 รัฐบาลประกาศในปี 2553 ว่าประเทศไทยมีพื้นที่ป่าสงวนทั้งสิ้น 23 ล้านเฮกตาร์​ (143.75 ล้านไร่) ซึ่งเป็นข้อมูลปีสุดท้ายที่หาได้9 นับว่าพื้นที่ป่าสงวนนี้มีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ของที่ดินที่รายงานเป็นเนื้อที่ป่าปกคลุม​ นอกจากนี้มีรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2553 ที่ดินอย่างน้อย 6.5 ล้านเฮกตาร์​ (40.63 ล้านไร่) ได้รับการจัดสรรให้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สำหรับบริหารจัดที่ดินให้กับเกษตรกร10

ที่น่าสนใจ คือ สถิติป่าปกคลุมใช้หลักเรือนชั้นยอดที่ระดับร้อยละ 30 โดย Global Forest Watch รายงานพื้นที่ป่าปกคลุมของไทยเป็นจำนวน 19.2 ล้านเฮกตาร์ (120 ล้านไร่) ในปี 2553 ซึ่งต่ำกว่ารายงานที่ประเทศไทยจัดทำ​11 Global Forest Watch เลือกใช้คำว่า “ต้นไม้ปกคลุม” แทนคำว่า “ป่าปกคลุม” แต่นิยามที่ให้ไว้ก็ตรงกับนิยามของ “ป่าปกคลุม” ตามกรอบของ FAO และ UNFCCC ที่กำหนดไว้ เว้นเสียแต่มีการระบุเกณฑ์การวัดที่ครอบคลุมเรือนชั้นยอดที่หลากหลาย ความน่าสนใจ คือ รายงานได้แสดงถึงพื้นที่ที่ใหญ่กว่าตัวเลขในรายงานของ FAO ทั้ง ๆ ที่มีเกณฑ์เทรสโชลด์ (Threshold​) ของชั้นเรือนยอดที่สูงกว่า12 การวิเคราะห์ของ Global Forest Watch แสดงให้เห็นว่า การสูญเสียต้นไม้ปกคลุมในช่วงปี 2544-2555 นั้น เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา13 ทั้งสามจังหวัดนี้เป็นแหล่งทำสวนยางพาราที่สำคัญในประเทศไทย14 ในทางตรงกันข้าม การเพิ่มขึ้นของต้นไม้ปกคลุมนั้นเกิดขึ้นกระจุกตัวอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก

ประเทศไทยประกาศว่าจะเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อยละ 23 ภายในปี 2573 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนสนับสนุนระดับประเทศอย่างแน่วแน่ภายใต้ข้อตกลงปารีส15 รัฐบาลได้ระบุในแผนสนับสนุนระดับประเทศอย่างแน่วแน่ว่า การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าจะเกิดจาก “การมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น เพื่อให้มีป่าต้นน้ำและป่าชายเลนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง”16

นอกจากนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ (สวน) ป่าเศรษฐกิจร้อยละ 1517 ซึ่งหากเป็นไปตามนี้ เป้าหมายของแผนสนับสนุนระดับประเทศอย่างแน่วแน่บางอย่างก็จะสามารถบรรลุได้ อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดยังระบุว่า เป้าหมายใหม่นี้ “ส่งผลต่อการกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าและการเรียกคืนที่ดินทำกินอย่างกว้างขวาง” ซึ่งกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรที่ครอบครองที่ดินทำกินที่ยังไม่มีความชัดเจน18

แรงขับเคลื่อนให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า 

บทวิเคราะห์ของ FAO ยังระบุอีกว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การแปลงที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขนาดใหญ่ การทำไร่หมุนเวียนขนาดเล็ก และการลักลอบตัดไม้ ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของการทำลายป่าไม้ในประเทศไทย19 น้ำมันปาล์มและชาเป็นพืชผลทางการเกษตรที่เกี่ยวโยงกับการทำลายป่า ขณะเดียวกันการตัดถนนใหม่เปิดพื้นที่เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตไม้และเพิ่มผลกำไรทางธุรกิจจัดเป็นแรงขับเคลื่อนให้ตัดไม้ทำลายป่าทั้งทางตรงและทางอ้อม20

ชุมชนกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอความพร้อม REDD+ ของประเทศไทยได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับภาครัฐที่ว่า การทำไร่หมุนเวียนจัดเป็นแรงจูงใจหลักให้ทำลายป่าไม้หรือไม่ และเน้นย้ำถึงผลกระทบของเกษตรกรรมสวนป่าขนาดใหญ่ที่เพิ่มสูงขึ้น21

การกำกับดูแลกิจการ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (MoNRE) เป็นหน่วยงานหลักจัดการป่าไม้ทั่วประเทศ โดยมีกรมป่าไม้ดูแลจัดการป่าไม้ที่อยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชดูแลจัดการป่าไม้ที่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กฎหมายสำคัญที่ต้องกล่าวถึง คือ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พ.ศ. 2532 สั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัมปทานและการสิ้นสุดของสัมปทาน ซึ่งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์และป่าสงวน ดู “นโยบายและการจัดการป่าไม้” สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

ชุมชนและป่าไม้

ร่างพระราชบัญญัติที่สร้างการรับรู้และส่งเสริมป่าชุมชนอย่างเป็นทางการไม่มีความเคลื่อนไหวมาเกือบสองทศวรรษ ก่อนที่จะได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีฯ เมื่อต้นปี 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้อาศัยการกระจายอำนาจการทำงานภาครัฐ​ค่อนข้างสูง ภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง และการยอมรับสิทธิการใช้ที่ดินของชุมชนอย่างจำกัด ได้เอื้ออำนวยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านทรัพยากรป่าไม้ท้องถิ่นมาเป็นเวลาหลายปี22 แต่จากงานวิจัยไม่นานนี้พบว่า ชุมชนพึ่งพาป่าหลายคนรู้สึกว่า สิทธิการครอบครองที่ดินและทรัพยากรของพวกเขาไม่มั่นคงพอที่จะให้เขาลงทุนเพื่อการจัดการป่าไม้​ อีกทั้ง ยังขาดการบังคับใช้กฎหมายและการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างยุติธรรม23

ระหว่างปี 2503-2523 มีหลายครั้งที่ชุมชนโดนขับไล่เพื่อการทำสวนป่าโดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ที่กำกับโดยรัฐ​ ปัจจุบันเรายังคงเห็นความขัดแย้งจากการขับไล่ที่ชุมชนเกิดขึ้น24

แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้กำหนดนโยบายบางอย่างเพื่อรับรู้ถึงสิทธิของเกษตรกรรายย่อยในที่ดินทำกิน แต่ความขัดแย้งยังคงเกิดขึ้นในแง่ของสถานที่ที่เรียกว่า “ป่า” ตามกฎหมาย แต่ในความเป็นจริง​ สถานที่นั้นคือที่ทำการเกษตรของเกษตรกรรายย่อย25

ไม้ และ FLEGT/REDD+

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ระดับภูมิภาค​​ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์และกระดาษ ยอดสินค้าส่งออกมากกว่าร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์จากไม้และกระดาษของไทยส่งไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย และตลาดลูกค้าหลัก คือ จีน26

นับตั้งแต่รัฐบาลไทยยกเลิกสัมปทานป่าไม้ ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ไม้ป่าที่ไม่ได้จากสวนส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังเป็นผู้ผลิตสินค้าไม้ยางพารารายใหญ่ที่สุดของโลก และไม้ยางพาราส่วนใหญ่มาจากสวนป่าปลูกของเกษตรกรไทย27

ประเทศไทยกำลังดำเนินการเข้าร่วมโครงการ EU-FLEGT และโครงการ REDD+ ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาข้อตกลงความร่วมมือแบบสมัครใจในโครงการ EU-FLEGT นั่นหมายถึง ประเทศไทยจะสร้างระบบการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่า เฉพาะไม้ที่เก็บเกี่ยวถูกต้องกฎหมายจึงจะได้รับการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปเท่านั้น และยังรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ที่นำเข้ามาในประเทศไทย28 เมื่อไม่นานนี้ มีกรณีตัวอย่างการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายของสหภาพยุโรปกับบริษัทไทยแห่งหนึ่งที่กัดไม้ผิดกฎหมายจากพม่า ถือเป็นการเน้นย้ำความสำคัญของระบบการตรวจสอบแหล่งที่มาของไม้29

ประเทศไทยยังได้รับเงินสนับสนุนเพื่อความพร้อม REDD+ จากหน่วยงาน Forest Carbon Partnership Facility (FCPF) ของธนาคารโลก หลังจากที่ได้รับอนุมัติแผนการเตรียมความพร้อมแล้ว คาดว่าประเทศไทยจะส่งแพ็คเกจความพร้อม (Readiness Package) ซึ่งจะประเมินความคืบหน้าจนถึงปัจจุบัน ได้ในปี 256230 แพคเกจความพร้อมนี้จะช่วยให้ประเทศไทยเข้าใกล้อีกขั้นของการรับเงินสนับสนุนเรื่องการเลี่ยงทำลายป่าและป่าเสื่อมโทรม

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

ggaU9
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!