ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนวิถีชีวิตของท้องถิ่นและขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ป่าไม้ แหล่งต้นน้ำ สภาพแวดล้อมทางทะเลและทรัพยากรธรณีเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างรวดเร็วในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามักเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อย่างไม่ยั่งยืน ลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจมักมีความสำคัญมากกว่าการอนุรักษ์ในหลาย ๆ กรณี 1

ประเทศไทยเผชิญกับความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในหลายภูมิภาครวมทั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและประชากรสัตว์ป่าที่ลดลง การตัดไม้ทำลายป่า การกลายเป็นทะเลทราย การขาดแคลนน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลพิษทางอากาศและทางน้ำ 2

การกวาดล้างที่ดินและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ภาพถ่ายโดย อีวาน เอช บี, ฟลิคเกอร์ ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ภายใต้ลิขสิทธิ์ CC BY-NC-ND 2.0

คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม

เพื่อให้บรรลุผลการพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจกับความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม มีเครื่องมือมากมายที่ใช้ในประเทศไทยเพื่อประเมินค่าการให้บริการระบบนิเวศและมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบเกี่ยวกับนัยยะของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง เช่น การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ที่ได้รับ 3 และเครื่องมือประเมินมูลค่าระบบนิเวศ 4  ได้รับการใช้เพื่อประโยชน์ในการออกแบบ การชำระเงินสำหรับแผนการให้บริการระบบนิเวศ ที่สร้างแรงจูงใจให้กับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ในประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่ามีการใช้นโยบายการเติบโตสีเขียว การริเริ่มการเจริญเติบโตของคาร์บอนต่ำ: ประเทศไทย 5  ที่เข้าใจการสร้างความสมดุลเหล่านี้อาจมีมูลค่า 2.06 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อเศรษฐกิจของประเทศในแง่ของศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าปัจจุบันของบริการระบบนิเวศที่จัดหามาจากป่าไม้ พื้นที่ชุมน้ำ ป่าชายเลนและแนวปะการัง ซึ่งแสดงถึง การเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เพิ่มขึ้น 7.80% เมื่อเทียบกับสถานการณ์ ‘ตามปกติ’ ประโยชน์ที่ได้รับมากที่สุดจากนโยบายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับ การปรับปรุงคุณภาพน้ำและบริการด้านการควบคุมการไหล ตัวอย่าง เช่น การสร้างโมเดลผลลัพธ์ของการปกป้องระบบนิเวศที่ให้บริการเหล่านี้แสดงให้เห็นการปรับปรุงให้ดีขึ้นร้อยละ 8.40% จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายเหล่านี้เพียงอย่างเดียว 6

ในปีพ.ศ. 2559 ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 20 ในแง่ของ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 327 เมตริกตันหรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.90 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัว (4.70 เมตริกตัน) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (4.80 เมตริกตัน) 7  เศรษฐกิจคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลางของไทยมีส่วนสำคัญต่อการจัดอันดับประเทศที่สูง (ลำดับที่ 9 จาก 140 ประเทศ) ในดัชนีความสุขทั่วโลกของโลก
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความสำเร็จในการสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนซึ่งทำให้ระดับความอยู่ดีกินดีอยู่ในระดับสูง (ระดับ 6.30 จาก 10) อายุขัยเฉลี่ย (74.10 ปี) ความไม่เท่าเทียมกันอยู่ในระดับปานกลาง (15%) โดยไม่ต้องมีระบบนิเวศของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ (2.70 เฮกตาร์ทั่วโลก/คน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความสำเร็จในการสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนซึ่งทำให้ระดับ ความอยู่ดีกินดี 8

คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมของไทยยังดึงดูด นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ  อย่างไรก็ตามการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม การลดลงของทรัพยากรธรรมชาติและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการท่องเที่ยวก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างและ ต้องมีการจัดการที่ดีขึ้น

การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ภูมิทัศน์ของประเทศไทยประกอบด้วยแหล่งที่อยู่อาศัยหลากหลายชนิดที่สนับสนุนประชากรพืชและสัตว์หลากหลายชนิดตัวอย่าง เช่น มีการค้นพบชนิดของพืชอย่างน้อย 15,000 ชนิดในประเทศ 9 ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของเทือกเขาที่แตกต่างกัน 15 แห่งและแหล่งต้นน้ำสำคัญ 25 สายที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง อ่าวไทยและทะเลอันดามัน สิ่งเหล่านี้สนับสนุนการกระจายพันธุ์พืชในวงกว้างรวมทั้งป่าเขตร้อน 3 ชนิดที่สำคัญ (ได้แก่ ป่าฝนมรสุม ป่าฝนและป่าชายเลน)

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทั่วโลก ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางชีวภาพนี้ถูกคุกคามจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่คำนึงถึงความยั่งยืนของการใช้ประโยชน์10 หลายสายพันธุ์ได้รับการจดทะเบียนใน รายชื่อสีแดงของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติให้เป็นสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ในฐานะที่เป็นเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์และมีบางรายชื่อระบุว่าเป็นสิ่งสำคัญและมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หากไม่ได้ดำเนินการดูแลรักษาไว้ ตัวอย่าง เช่น ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 58 ชนิดที่ถูกคุกคาม นกจำนวน 54 ชนิดที่ถูกคุกคามและปลาจำนวน 106 ชนิดที่ถูกคุกคามและพืชจำนวน 152 ชนิดที่ถูกคุกคามโดยรวมอยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค 11

ทรัพยากรธรรมชาติที่เลือกในประเทศไทย แผนที่จัดทำโดย ODT ดูชุดข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติมบน Map Explorer.

ป่าไม้

ในปี พ.ศ. 2558 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติรายงานว่าพื้นที่ที่ดินที่ปกคลุมไปด้วยป่ามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 32.10 ของพื้นที่ทั้งหมดในประเทศไทย 12  ตัวเลขที่ปรับปรุงขั้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวาระแห่งชาติมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น นโยบายป่าไม้แห่งชาติ (พ.ศ.2528) ระบุเป้าหมายเพื่อรักษาความครอบคลุมของพื้นที่ป่าไว้ที่ร้อยละ 40 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) นี่เป็นเป้าหมายตั้งแต่นั้นมาและล่าสุดได้รับการตอกย้ำอีกครั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ตัดไม้ทำลายป่าหลายรายได้ขัดขวางไม่ให้ประเทศไทยบรรลุผลสำเร็จ เช่น การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและการบุกรุกที่ดินในพื้นที่ป่าไม้อย่างผิดกฎหมาย โครงการพัฒนารีสอร์ท การทำเหมืองแร่และการก่อสร้างถนนและการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 13

รูปแบบของความเสื่อมโทรมของป่าไม้ที่สำคัญเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2518-2536 เมื่อ พื้นที่ป่าชายเลน ในประเทศไทยลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง สาเหตุสำคัญคือการบุกรุกขนาดใหญ่ของบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการเลี้ยงกุ้งแบบเข้มข้นในพื้นที่ป่า 14 ป่าชายเลนในประเทศไทยเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศชายฝั่ง ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลในประเทศไทยล้อมรอบด้วยป่าชายเลน เป็นแหล่งอาหาร แหล่งเพาะพันธุ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติสำหรับคนไทย เช่น ชาวประมง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและผู้ผลิตถ่านซึ่งได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ 15 ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2555 อัตราการทำลายป่าชายเลนลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสัตว์น้ำรายใหญ่ที่สุดของโลกและพื้นที่ป่าชายเลนที่เหลืออยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ในประเทศจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างสุดความสามารถเพื่อลดผลกระทบทางลบที่จะมีในอนาคต  16

ป่าชายเลน ประเทศไทย ภาพถ่ายโดย นิชาน โจอีส, ฟลิคเกอร์ ถ่ายภาพเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2556 ภายใต้ลิขสิทธิ์ CC-BY-2.0

ในปี พ.ศ. 2557 ร้อยละ 18.80  ของพื้นที่ภาคพื้นดินทั้งหมดของประเทศไทยถูกจัดเป็นเขตคุ้มครองซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ร้อยละ 14.80 17 การตระหนักถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จเชิงนโยบายที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการจัดทำคำสั่งห้ามตัดป่าไม้ในพื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2532 ตามมาด้วยการพัฒนานโยบายการอนุรักษ์ป่าใหม่เพื่อเพิ่มการคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ที่เหลืออยู่ 18

ทรัพยากรน้ำ

ประเทศไทยมีทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามปริมาณทรัพยากรน้ำจืดภายในประเทศที่หมุนเวียนต่อหัวประชากรลดลงจากประมาณ 7,700 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปีใน พ.ศ. 2505 เป็นประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อปีในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเติบโตของประชากรดังที่แสดงในกราฟด้านล่าง  19 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนน้ำที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อฤดูแล้งที่ยาวนานในประเทศไทย

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการชลประทานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรภายในประเทศและการส่งออกของไทยเพื่อสร้างโอกาสในการดำรงชีวิตให้กับประชาชนชาวไทย อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำฝนที่เก็บไว้ในประเทศไทยมีเพียงร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนโดยรวม โดยการขาดแคลนน้ำส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงที่ความต้องการทางการเกษตรสูงที่สุด เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นสำคัญและแย่ลงเรื่อยๆ 20

สิ่งนี้ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการลดคุณภาพและปริมาณของแหล่งน้ำในแหล่งน้ำบาดาลและแหล่งต้นน้ำ ตัวอย่าง เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตชานเมืองในประเทศไทยมีความเสื่อมโทรมมากขึ้นโดยตัวขับเคลื่อน เช่น การเปลี่ยนแปลงไปเป็นนาข้าว การพัฒนาเมืองและการพัฒนาอุตสาหกรรมและมลพิษจากอุตสาหกรรมและการใช้ยาฆ่าแมลง 21

ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของปริมาณน้ำฝนโดยรวมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป แต่มีแนวโน้มที่แตกต่างกันไปสำหรับปริมาณฝนในหลายพื้นที่ของประเทศ ตัวอย่าง เช่น ภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทยมีความแห้งมากขึ้นและภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอ่าวไทยรวมทั้งกรุงเทพฯได้กลายเป็นที่เปียกชุ่มขึ้นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงขึ้นรวมถึงยาวนานขึ้น ความแห้งแล้งและน้ำท่วมฉับพลันและพายุโซนร้อนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  22

ชาร์ทจัดทำโดย ODT เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ภายใต้ลิขสิทธิ์ CC BY SA 4.0 แหล่งข้อมูล: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ 2558  สถิติข้อมูลน้ำเพื่อการเกษตร ฐานข้อมูลหลัก

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

ในประเทศไทยได้มีการทบทวนนโยบายและระเบียบข้อบังคับด้านการอนุรักษ์โดยเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) แผนนี้ได้ให้ความสำคัญต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของรัฐบาลไทย สอดคล้องกับการพัฒนา การปรับปรุงและการอนุรักษ์และพระราชบัญญัติคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2535) 23 จุดมุ่งหมายของกฎหมายฉบับนี้คือการปฏิรูปการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยโดยอาศัยการเฝ้าติดตามอย่างมีประสิทธิผล โปร่งใสและมีความรับผิดชอบ  พระราชบัญญัตินี้ใช้เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านขั้นตอนการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจซึ่งนำโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยึดมั่นในหลักการ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” 24

เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) 25 ตอนนี้ได้พัฒนาไปสู่เป้าหมายที่ระบุไว้ว่า “ความมั่นคง ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน” สำหรับเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” “การเจริญเติบโตสีเขียว” ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนถือเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่สอดคล้องกับวาระ พ.ศ. 2573 ของ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ

เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของวาระดังกล่าว  สภานิติบัญญัติแห่งชาติของไทยได้มีการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ( พ.ศ.2560-2579) 26 ซึ่งมีการใช้โดยกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนากรอบนโยบายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564) 27 นโยบายนี้เน้นถึงองค์ประกอบหลัก 4 ประการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย ประกอบด้วยการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การป้องกันและการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ประเทศไทยยังปฏิบัติตามกรอบนโยบายระดับโลกอื่น ๆ  28 รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์โลกเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2554-2563 และเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพของไอจิ ประเทศไทยตั้งใจที่จะใช้กรอบเหล่านี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยสัตว์ป่าและพันธุ์พืชใกล้สูญพันธ์  (CITES) และ อนุสัญญาแรมซาร์เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ

ภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์อชา นายกรัฐมนตรี ประเทศไทยมีนโยบายในการสร้างสังคมที่น่าอยู่ที่มีระบบเศรษฐกิจที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำได้ ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีเป้าหมายที่จะใช้นโยบายนี้เพื่อผลักดันให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูง  29 ความท้าทายที่จะก้าวหน้าไปจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวของประเทศไทยเป็นเท่าตัวจาก 6,357 เหรียญสหรัฐต่อปีเป็น 12,236 เหรียญสหรัฐต่อปี   30 โดยใช้รูปแบบของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่ลดคุณค่าของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

References

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

yp6zn
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!