ข่าว
รัฐบาลจะคุมเข้มข้อจำกัด ท่ามกลางการติดเชื้อที่พุ่งสูง โดยไม่ "ล็อกดาวน์"
ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า รัฐบาลจะตัดสินใจในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับมาตรการจำกัดโควิดเพิ่มเติมที่แนะนำโดยกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากอัตราการติดเชื้อและการเสียชีวิตพุ่งแตะระดับสูงสุดครั้งใหม่ ดร.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ รองโฆษกของ ศบค. กล่าวว่า “นี่จะไม่ใช่การปิดล็อกเต็มรูปแบบ”โดยทาง ศบค. จะตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มเติมในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในวันศุกร์นี้ และกล่าว คำแนะนำครอบคลุมถึงด่านที่เข้มงวดระหว่างจังหวัด การปิดกิจการชั่วคราว การเปลี่ยนแปลงเวลาเปิดทำการ และการทำงานจากที่บ้านอ่านต่อ ...
อาสาสมัครสาธารณสุข : กลุ่มสำคัญที่ช่วยควบคุมไวรัส [วิดีโอ]
ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ มีรายงานว่าอาสาสมัครด้านสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการช่วยบุคลากรทางการแพทย์จำกัดการแพร่กระจายของโรคโควิด-19ดูต่อ ...
สภาภาคเอกชนปรับลดคาดการณ์จีดีพีเหลือ 0-1.5% ท่ามกลางการระบาดครั้งล่าสุด
สภาภาคเอกชนปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 0-1.5% สาเหตุหลักมาจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ตัดสินใจลดการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศสำหรับปีนี้เป็น 0-1.5% ในการประชุมวันพุธ จากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 0.5-2%อ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
การขึ้นทะเบียนโรงงานใหม่ลดลงในไตรมาสที่ 3
รายงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ระบุว่า การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้นำเสนอภาพที่ไม่น่าพอใจในการจดทะเบียนโรงงานใหม่ โดยมีโรงงานใหม่และการขยายโรงงานที่ลดลงอย่างมากในไตรมาสที่สามของปี พ.ศ.2564ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2563 ถึงมิถุนายน พ.ศ.2564 โครงการขยายโรงงานลดลง 70.23% เมื่อเทียบเป็นรายปี เหลือเพียง 209 โรงงาน ในขณะที่จำนวนการจดทะเบียนโรงงานลดลง 6.33% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นจำนวน 1,894 โรงงานอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคแตะระดับต่ำสุด
ผลสำรวจเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ในเดือนมิถุนายนระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับผลกระทบจากการระบาดของโคโรนาไวรัสครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นผลจากการเปิดตัววัคซีนที่ช้า และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ซบเซา ดัชนีผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ลดลงเหลือ 43.1 ในเดือนมิถุนายน จาก 44.7 ในเดือนพฤษภาคมอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
นำร่องการรักษาที่บ้าน สำหรับเคสโควิดที่ไม่รุนแรง เนื่องจากการติดเชื้อที่ล้นโรงพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุขกำลังนำร่องการรักษาที่บ้านและในชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง (ประเภทสีเขียว) เนื่องจากมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีผู้ป่วยล้นความจุเตียงในโรงพยาบาลนพ.สมศักดิ์ อังคศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเมื่อวันพุธว่า จำนวนผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีจำนวนเตียงเพิ่มขึ้น 10,000 คนภายในหนึ่งเดือน และห้องไอซียูกำลังรักษาผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 ที่ป่วยหนักกว่า 400 คน ส่งผลให้ขาดแคลนเตียงและบุคลากรทางการแพทย์อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
การกระจายวัคซีน เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการส่งออก
รัฐบาลกำลังถูกกระตุ้นให้เร่งจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับภาคการผลิตเพื่อเพิ่มการส่งออก ซึ่งเป็นกลไกเดียวที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ทางกลุ่มได้เรียกร้องให้รัฐบาล เร่งแจกจ่ายวัคซีนให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนงานในภาคการผลิตอ่านต่อ ...
ส.อ.ท. วอนรัฐฯ ย้ายโรงงาน
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เสนอให้รัฐบาลย้ายโรงงานออกจากเขตที่อยู่อาศัย หลังโรงงานพลาสติกเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในอนาคตโดยควรเสนอสิ่งจูงใจบางอย่างให้กับเจ้าของโรงงาน รวมถึงการลดภาษีที่ดิน 2% และการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า “การย้ายโรงงานต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง” อ่านต่อ ...
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
เศรษฐกิจอาจพลาดจากคาดการณ์ หากการระบาดของไวรัสยืดเยื้อ
รายงานการประชุมครั้งล่าสุดของธนาคารกลางได้เปิดเผยเมื่อวันพุธว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านลบอย่างมีนัยสำคัญ และควรรักษาขอบเขตนโยบายที่จำกัดไว้เพื่อใช้ในเวลาที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากรายงานการประชุม ระบุว่าการระบาดของโรคโคโรนาไวรัสที่ยืดเยื้ออาจทำให้เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผลงานต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยบีบสภาพคล่องทางธุรกิจและการจ้างงานที่ชะลอตัว อ่านต่อ ...
หอการค้าแนะ บริษัทเดินเรือแห่งชาติใหม่จะไม่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
หอการค้าไทยแนะรัฐบาลไม่ให้จัดตั้งบริษัทเดินเรือแห่งชาติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยนายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานฯ หอการค้าไทย กล่าวว่า ประเทศไทยได้ก่อตั้งบริษัทเดินเรือในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งปิดตัวไปในปี พ.ศ.2554“บริษัทนี้ต้องจ้างผู้ส่งสินค้าจากต่างประเทศมาส่งสินค้าของรัฐบาล เพราะไม่มีเรือเป็นของตัวเอง”อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น