กฎหมายและตุลาการ
กฎระเบียบใหม่ปกป้องนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ให้ถูกไล่ออกจากโรงเรียน
กฎกระทรวงที่ออกใหม่ได้ห้ามสถานศึกษาไล่นักเรียนที่ตั้งครรภ์ออกจากการศึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยแก้ไขกฎกระทรวงฉบับก่อน ให้เป็น “นักศึกษาที่ตั้งครรภ์จะไม่ถูกไล่ออกจากการศึกษา เว้นแต่จะเป็นไปตามความประสงค์ของนักศึกษา”อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ประเทศไทย: เจ้าหน้าที่ถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมนักเคลื่อนไหวชาวกะเหรี่ยง
ทางการไทยควรดำเนินคดีอย่างเต็มที่และเป็นธรรมกับผู้ที่สังหารนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวกะเหรี่ยงที่เป็นที่รู้จักในปี 2557 ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวในวันนี้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานอัยการสูงสุดได้แจ้งอย่างเป็นทางการต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ของกระทรวงยุติธรรม ถึงการตัดสินใจสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่อุทยานสี่ราย ด้วยข้อหาว่าลักพาตัวและสังหาร “บิลลี่” หรือนายพอละจี รักจงเจริญ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 ข้อหาดังกล่าวรวมถึงการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และปกปิดร่างของเหยื่ออ่านเพิ่มเติม ...
การแชร์ข้อมูลส่วนส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจมีค่าปรับสูงถึง 5 ล้านบาท
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนอาจถูกปรับสูงสุด 5 ล้านบาท และ/หรือจำคุก 1 ปี ฐานละเมิดพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act; PDPA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันพุธนี้ภายใต้ PDPA ภาครัฐและเอกชนทั่วโลกรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการบริหารและประเมินข้อมูล จะต้องขออนุญาตก่อนที่จะรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ไทยเพิ่มอายุความคุ้มกันตามกฎหมายจาก 10 ปี เป็น 12 ปี
ประเทศไทยได้เพิ่มอายุความรับผิดทางอาญาเป็น 12 ปีโดยไม่มีเงื่อนไขและ 15 ปีโดยมีเงื่อนไขภายใต้การแก้ไขทางกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในวันอาทิตย์การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาครั้งที่ 29 แทนที่มาตรา 73 และระบุว่า: “เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีจะไม่ได้รับโทษสำหรับการกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย”อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ชุมนุมต่อต้านร่างพ.ร.บ.คุมเอ็นจีโอ
องค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ ได้จัดการประท้วงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องให้มีการยกเลิกร่างกฎหมายที่มุ่งเป้าไปที่การติดตามและควบคุมกิจกรรมของเอ็นจีโอ สมาชิกของเอ็นจีโอหลายแห่งรวมตัวกันที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อแสดงความคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. . ของรัฐบาลโดยร่างกฎหมายที่เสนอจะกำหนดให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต้องระบุวัตถุประสงค์ เปิดเผยแหล่งเงินทุน และห้ามทำกิจกรรมที่ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
อาชญากรรมไซเบอร์ในคริปโตฯจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า
การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่ใช้คริปโตเคอเรนซี การโจมตีที่เกี่ยวข้องกับ metaverse การใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องใน Application Programming Interface (API) และการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เป็นหนึ่งในภัยคุกคามหลักที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2565 ตามข้อมูลของ Palo Alto Networks บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกIan Lim หัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยภาคสนามของญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิกของ Palo Alto Networks กล่าวว่า “อาชญากรไซเบอร์จะร่ำรวยขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากสกุลเงินดิจิทัลเป็นเชื้อเพลิงให้กับวงการแรนซัมแวร์”อ่านต่อ ...
สุจิตร ลีสงวนสุข
เสนอกฏหมายเพื่อตั้งฐานข้อมูลสารพันธุกรรม (DNA database)
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (CIFS) ยังคงผลักดันกฎหมายที่กำหนดให้เก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมที่รวบรวมจากผู้ต้องสงสัยในคดีอาญาในฐานข้อมูลกลางระบบฐานข้อมูลกลางนี้จะช่วยสืบสวนสอบสวนที่มุ่งเป้าไปที่ผู้ต้องสงสัยในคดีความปลอดภัยและอาชญากรรมร้ายแรงพ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวเมื่อวันอังคารว่า ร่างกฎหมายข้อมูลพันธุกรรม ซึ่งเป็นกลไกทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับแผนการจัดตั้งศูนย์สารพันธุกรรมแห่งชาติได้ผ่านการพิจารณาของสาธารณชนแล้วอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ราชกิจจาฯ ประกาศ ห้ามเสนอข่าวปลอม ทำให้หวาดกลัว
ข้อกำหนดใหม่ในการต่อต้านข่าวปลอมและข้อมูลเท็จ ได้ประกาศใช้เมื่อวันศุกร์ หลังจากเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาข้อกำหนดใหม่ออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พระราชกำหนดฉุกเฉินมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และเพิ่งขยายเวลาเป็นครั้งที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2563โดยข้อกำหนดใหม่ได้ห้ามการรายงาน ขาย หรือเผยแพร่จดหมาย สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่น ๆ “ที่มีข้อความที่อาจทำให้ประชาชนตื่นตระหนกหรือจงใจปลอมแปลงข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างภาวะฉุกเฉิน”อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
การวิพากษ์วิจารณ์ในร่างกฎหมายดิจิทัล
มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อควบคุมแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการในประเทศไทย จากผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเมื่อวันพฤหัสบดีได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการบังคับใช้ที่ไม่เท่าเทียมกันสำหรับผู้ประกอบการในและต่างประเทศ ภาระเพิ่มเติมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และความเสี่ยงของการใช้อำนาจในทางที่ผิดพระราชกฤษฎีกาควบคุมแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งล่วงหน้านั้น จัดทำโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ให้เป็นกฎหมายรองของพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
iLaw จับตาการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ห้ามโพสต์สร้างความหวาดกลัวแม้เป็นความจริง
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้ประณามข้อกำหนดใหม่ที่ออกภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นล่าสุดในหน้าเฟสบุ๊คของ iLaw กล่าวถึง ข้อกำหนดฉบับที่ 27 ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งรวมถึงบทบัญญัติ (ข้อที่ 11) โดยจำกัดอิสระในการพูดหรือแสดงความคิดเห็น ในสถานการณ์ปัจจุบัน“ข้อที่ 11 มาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์