ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มลภาวะและของเสีย
ศุลกากรออกมาตรการเร่งด่วนในการจัดการกับลักลอบขนขยะเข้าประเทศ
อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า ได้ดำเนินมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันการลักลอบขนขยะอิเล็กทรอนิกส์ และพลาสติกเข้ามาในประเทศ หลังจากที่มีการสกัดกั้นการขนส่งขยะมูลค่า 17.5 ล้านบาท นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากรกล่าวว่า คดีลักลอบขนขยะที่ไม่พึงประสงค์ที่ ถูกเจ้าหน้าที่ของกรมสกัดกั้นในช่วงปีงบประมาณ 2561 ถึง 2562 มีมากถึง 103 คดีอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ไทยลดการนำเข้าพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์
กรมศุลกากร รายงานว่า การนำเข้าขยะพลาสติกและอิเล็กทรอนิกส์ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลระงับการนำเข้าขยะจากต่างประเทศนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า การนำเข้าขยะพลาสติกมายังประเทศไทยลดลงเหลือ 174,000 ตัน ในช่วง 5 เดือนจนถึงพฤษภาคม จากจำนวน 571,000 ตันตลอดทั้งปี 2561 ในขณะที่ปริมาณนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ลดลงเหลือ 12,200 ตันในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม จาก 51,500 ตันในปีที่แล้ว อ่านต่อ ...
วิชิต จันทนุสรณ์ศิริ
ขยะพลาสติกล้นทะเล
ประเทศไทยตระหนักถึงภัยคุกคามจากขยะพลาสติกที่มีต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะในมหาสมุทร ตามที่เห็นในข่าว สิ่งมีชีวิตในทะเลต่างกินขยะพลาสติกเข้าไป และต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมากประเทศอื่น ๆ ก็ประสบปัญหาขยะพลาสติกล้นประเทศ โดยองค์กรไม่แสวงผลกำไร ‘Ocean Conservancy’ รายงานว่าขยะพลาสติกจำนวนกว่า 150 ล้านตัน กำลังไหลเวียนในมหาสมุทร ทะเลและแหล่งน้ำอื่น ๆ นับตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมาอ่านต่อ ...
ยุทธนา ไพรวัลย์ และ ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
ควบคุมวิกฤตการณ์ขยะ
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 ได้สิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยการให้สัตยาบันโครงการริเริ่มสีเขียวสองโครงการ ซึ่งนิมิตหมายอันดีต่ออนาคตของโลกปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยการต่อสู้กับขยะทะเล และกรอบปฏิบัติของอาเซียนเกี่ยวกับขยะทะเลโดยมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล อย่างไรก็ตามผู้สนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมกำลังเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน ห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศ เพื่อลดมลภาวะทางทะเลอ่านต่อ ...
วัสยศ งามขำ
มลพิษของประเทศไทยอยู่ในระดับ 'คงที่' ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
ผู้คนทั่วโลกนับล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยอันเกิดจากมลพิษทางอากาศทุกปีโดยแต่ทว่าสถานการณ์ในประเทศไทยได้รับการอธิบายว่า “ คงที่ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา” นี่คือความจริงที่ว่ามลพิษทางภาคเหนือจะเลวร้ายยิ่งกว่าที่เคยพบในปีนี้อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
'ทุ่นกักขยะลอยน้ำ' ประสบความสำเร็จในการปิดกั้นขยะจากทะเล
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ทุ่นกักขยะลอยน้ำ ทั้ง 4 แบบที่ทดสอบในคลองในจังหวัดสมุทรสงครามนั้น แต่ละแบบสามารถดักจับขยะได้กว่า 7.7 กิโลกรัมต่อวันซึ่งจะมีแผนที่จะจัดตั้งอีกห้าแห่งที่ปากแม่น้ำระยองและคลองสมุทรสาครในเดือนกรกฎาคม โดยนายจตุพรยังกล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีคลองไม่น้อยกว่า 900 แห่งที่เชื่อมต่อกับทะเลดังนั้นทุ่นกักขยะลอยน้ำ ซึ่งพัฒนาโดยทางกรมฯ และเอสซีจีเคมิคอล จะสามารถช่วยเปลี่ยนชื่อเสียงของประเทศไทย จากการถูกจัดอยู่ในอันดับที่หก ในประเทศที่ปล่อยขยะในทะเลมากที่สุดในโลก และจะเป็นการสร้างนวัตกรรมที่สามารถหยุดยั้งสถานการณ์ดังกล่าวอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
งานเสวนาสาธารณะในประเด็นไฟป่า และอนุภาค PM2.5
สภาวิศวกร และพันธมิตรเครือข่ายได้จัดให้มีกาเสวนาสาธารณะเกี่ยวกับสาเหตุของไฟป่า และอนุภาค PM2.5 โดยงานเสวนานี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่สี่ด้วยความตั้งใจที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านนโยบาย และกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการกับไฟป่าและอนุภาค PM2.5 เพื่อประโยชน์ของประชาชนอ่านต่อ ...
Praphorn Praphornkul
รัฐบาลประสบความสำเร็จในการลดขยะพลาสติก
กรมควบคุมมลพิษ (PCD) กล่าวว่า ปีแรกสำหรับความพยายามของประเทศในการลดขยะพลาสติกนั้นประสบความสำเร็จและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากภาคธุรกิจ นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวในการประชุมฉลองครบรอบปีแรกของการรณรงค์เพื่อลดขยะพลาสติกของรัฐบาลว่า “แผนการของเราในการลดขยะพลาสติกนั้นยังอยู่เพียงในขั้นตอนแรก และอาศัยความสมัครใจ แต่เราได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่”อ่านต่อ ...
อภิญญา วิภาตะโยธิน
ภายในสิ้นปีนี้ ประเทศไทยจะสั่งแบนพลาสติก 3 ชนิด
ตามโรดแมปที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ระบุว่า ภายในสิ้นปี 2562 ประเทศไทยจะปลอดจากพลาสติก 3 ประเภท คือ ไมโครบีด ซีลฝาปิด และพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (OXO – Biodegradable Plastic)จากนั้นในปี 2565 จะมีการสั่งห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอีก 4 ชนิด คือ ถุงพลาสติกน้ำหนักเบาหนาไม่เกิน 36 ไมครอน ภาชนะบรรจุอาหารโฟมสำหรับกลับบ้าน ถ้วยพลาสติก และหลอดพลาสติกอ่านต่อ ...
สุขภาพของคนในพื้นที่ 'ได้รับผลกระทบอย่างหนักของการปนเปื้อนจากเหมืองทองคำ'
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเหมืองทองคำอัคราในจังหวัดพิจิตรกำลังบ่นว่าพวกเขายังคงต้องรับมือกับสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนเนื่องจากบริษัทและเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการ เพื่อจำกัดการปนเปื้อนของโลหะหนักที่เกิดจากการรั่วไหลของเหมืองทองคำอ่านต่อ ...
ปรัชญ์ รุจิวนารมย์