ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

งานวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์

จากการวิเคราะห์ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่รุนแรงหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 องศาเซลเซียสภายในปี พ.ศ.2593 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อความมั่นคงของโลก และต้องการการตอบสนองอย่างทันท่วงทีมิฉะนั้นจะสายเกินไปที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ “โลกร้อน” และเป็นการสิ้นสุดของอารยธรรมมนุษย์อ่านต่อ ...

ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

มลพิษของประเทศไทยอยู่ในระดับ 'คงที่' ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา

ผู้คนทั่วโลกนับล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยอันเกิดจากมลพิษทางอากาศทุกปีโดยแต่ทว่าสถานการณ์ในประเทศไทยได้รับการอธิบายว่า “ คงที่ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา” นี่คือความจริงที่ว่ามลพิษทางภาคเหนือจะเลวร้ายยิ่งกว่าที่เคยพบในปีนี้อ่านต่อ  ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ความต้องการแร่โปแตชของจีนทำให้เกิดการต่อต้านในชนบทของไทย

อนาคตของเหมืองแร่โปแตชที่วางแผนไว้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเกิดความไม่แน่นอนขึ้น เนื่องจากมีการต่อต้านอย่างรุนแรง เพราะชาวบ้านในพื้นที่เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับวิถีชีวิต สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมเมื่อปีที่แล้วกลุ่มคนซึ่งนำโดยผู้หญิงในพื้นที่ได้ปิดกั้นการเข้าถึงแหล่งขุดเจาะสำรวจในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อตอบโต้ต่อการที่บริษัท China Ming Ta Potash Corporation ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากชาวบ้านจำนวน 34 ล้านบาท (1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) อ่านต่อ ...

ยศพล เกิดวิบูลย์

'ทุ่นกักขยะลอยน้ำ' ประสบความสำเร็จในการปิดกั้นขยะจากทะเล

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ทุ่นกักขยะลอยน้ำ ทั้ง 4 แบบที่ทดสอบในคลองในจังหวัดสมุทรสงครามนั้น แต่ละแบบสามารถดักจับขยะได้กว่า 7.7 กิโลกรัมต่อวันซึ่งจะมีแผนที่จะจัดตั้งอีกห้าแห่งที่ปากแม่น้ำระยองและคลองสมุทรสาครในเดือนกรกฎาคม โดยนายจตุพรยังกล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีคลองไม่น้อยกว่า 900 แห่งที่เชื่อมต่อกับทะเลดังนั้นทุ่นกักขยะลอยน้ำ ซึ่งพัฒนาโดยทางกรมฯ และเอสซีจีเคมิคอล จะสามารถช่วยเปลี่ยนชื่อเสียงของประเทศไทย จากการถูกจัดอยู่ในอันดับที่หก ในประเทศที่ปล่อยขยะในทะเลมากที่สุดในโลก และจะเป็นการสร้างนวัตกรรมที่สามารถหยุดยั้งสถานการณ์ดังกล่าวอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

อาเซียนเริ่มดำเนินการในความร่วมมือ เพื่อต่อสู้กับภัยการค้าสัตว์ป่า

ภูมิภาคต้องการแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน เพื่อจัดการกับการค้าสัตว์ป่า ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำในสัปดาห์ที่ผ่านมาในขณะที่มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกรุงเทพฯ รับรอง “แถลงการณ์เชียงใหม่ของรัฐมนตรีอาเซียนในฐานะผู้รับผิดชอบ CITES และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่า”อ่านต่อ ...

ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

วางแผนให้มีความมั่นคงในทะเลเพื่อปกป้องลูกพะยูนจากพายุ

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล สัตวแพทย์จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (DNP) และผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังมองหาวิธีในการปกป้อง “มาเรียม” พะยูนน้อยที่ได้รับการช่วยเหลือ เมื่อเร็ว ๆ นี้ จากคลื่นลมแรงในฤดูพายุที่กำลังจะมาถึงอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้จำนวนสัตว์ทะเลลดลงถึงร้อยละ 17

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทำให้มหาสมุทรนั่นว่างเปล่า โดยนักวิจัยได้คำนวณยอดการสูญเสียพบว่ามีจำนวนเกือบหนึ่งในห้าของสิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมดโลกในปัจจุบัน มีอุณหภูมิที่สูงขึ้นสามถึงสี่องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับระดับก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม โดยเกิดการทำลายล้างชีวมวลทางทะเลถึงร้อยละ 17 นับตั้งแต่แพลงก์ตอนจิ๋วไปจนถึงวาฬหนัก 100 ตันตามรายงานของ US Proceedings of the National Academy of Scienceอ่านต่อ ...

งานเสวนาสาธารณะในประเด็นไฟป่า และอนุภาค PM2.5

สภาวิศวกร และพันธมิตรเครือข่ายได้จัดให้มีกาเสวนาสาธารณะเกี่ยวกับสาเหตุของไฟป่า และอนุภาค PM2.5 โดยงานเสวนานี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่สี่ด้วยความตั้งใจที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านนโยบาย และกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการกับไฟป่าและอนุภาค PM2.5 เพื่อประโยชน์ของประชาชนอ่านต่อ ...

Praphorn Praphornkul

ประมงปิดอ่าวไทยเพื่อฟื้นฟูสัตว์ทะเล

การห้ามจับปลาในพื้นที่บางส่วนของอ่าวไทยเป็นเวลานานกว่าสามเดือนหรือตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน เพื่อให้สัตว์ทะเลสามารถฟื้นฟู  และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนการจับปลาจะถูกควบคุมอย่างเข้มงวดในส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่ที่เรียกว่า “อ่าวรูปตัว ก” ซึ่งเป็นส่วนบนของอ่าวซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสัญลักษณ์ “ก” ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวแรกของตัวอักษรไทยอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

บทบาทที่สำคัญของพันธบัตรสีเขียว

มีเพียงไม่กี่ประเทศที่เข้าใจถึงอันตรายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่าประเทศไทย อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปี ปริมาณฝนเพิ่มขึ้น และเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงบ่อยครั้ง เช่น ลมมรสุม น้ำท่วม และภัยแล้ง หากไม่มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจสร้างความเสียหายต่อข้าวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และท้ายที่สุดกรุงเทพจะจมอยู่ใต้น้ำทะเลอ่านต่อ ...

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

HGGrc
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!