ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ระบบการผลิตอาหารส่งผลร้ายต่อโลก
วิธีการที่เราผลิต บริโภค และกำจัดอาหาร คือสิ่งที่ไม่ยั่งยืนอีกต่อไป โดยสิ่งนี้ชัดเจนมากจากรายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติฉบับใหม่ ซึ่งเตือนให้ต้องคิดทบทวนว่าต้องผลิตอาหารอย่างไร — เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดจากการผลิตอาหารทั่วโลก รวมถึงการทำลายป่าครั้งใหญ่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และเร่งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอ่านต่อ ...
ชาวป่าเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ
ในขณะนี้ ธารน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์กำลังละลายในอัตราต่อวันสูงถึง 4.4 ล้าน เทียบกับสระว่ายน้ำมาตรฐานและกรุงเทพฯอาจจมอยู่ใต้น้ำได้เร็วกว่าที่คาดคิดไว้ซึ่งข่าวร้ายไม่ใช่เพียงเท่านั้น ชั้นดินเยือกแข็งอาร์กติก (Permafrost) ยังคงละลายอย่างรวดเร็วด้วยคลื่นความร้อนที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่โลกเคยบันทึกไว้ ชั้นดินเยือกแข็งที่หลอมละลายนั้นได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากที่ติดอยู่ในน้ำแข็งเป็นพันปี เป็นเหตุให้เร่งภาวะโลกร้อนให้เลวร้ายเร็วขึ้นอ่านต่อ ...
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างไร?
ประเทศต่างๆทั่วโลกกำลังประสบกับความต้องการในการปกป้องประชากร และความสามารถในการผลิตของตน เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ด้านสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศไทยได้เริ่มใช้ยุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดูต่อ ...
งานวิจัยพบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์
จากการวิเคราะห์ มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่รุนแรงหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 องศาเซลเซียสภายในปี พ.ศ.2593 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อความมั่นคงของโลก และต้องการการตอบสนองอย่างทันท่วงทีมิฉะนั้นจะสายเกินไปที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ “โลกร้อน” และเป็นการสิ้นสุดของอารยธรรมมนุษย์อ่านต่อ ...
ปรัชญ์ รุจิวนารมย์
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้จำนวนสัตว์ทะเลลดลงถึงร้อยละ 17
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทำให้มหาสมุทรนั่นว่างเปล่า โดยนักวิจัยได้คำนวณยอดการสูญเสียพบว่ามีจำนวนเกือบหนึ่งในห้าของสิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมดโลกในปัจจุบัน มีอุณหภูมิที่สูงขึ้นสามถึงสี่องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับระดับก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม โดยเกิดการทำลายล้างชีวมวลทางทะเลถึงร้อยละ 17 นับตั้งแต่แพลงก์ตอนจิ๋วไปจนถึงวาฬหนัก 100 ตันตามรายงานของ US Proceedings of the National Academy of Scienceอ่านต่อ ...
บทบาทที่สำคัญของพันธบัตรสีเขียว
มีเพียงไม่กี่ประเทศที่เข้าใจถึงอันตรายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่าประเทศไทย อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปี ปริมาณฝนเพิ่มขึ้น และเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงบ่อยครั้ง เช่น ลมมรสุม น้ำท่วม และภัยแล้ง หากไม่มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจสร้างความเสียหายต่อข้าวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และท้ายที่สุดกรุงเทพจะจมอยู่ใต้น้ำทะเลอ่านต่อ ...
เปิดตัวแคมเปญเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำนาข้าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงโครงการ Thai Rice NAMA จะเข้าถึงเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกว่า 100,000 ครัวเรือนในประเทศไทย โดยเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปเป็นแบบปล่อยมลพิษต่ำซึ่งโครงการนี้จะทำงานร่วมกับเกษตรกร และสมาคมต่าง ๆ ตลอดจนผู้ให้บริการภายนอก ในการปรับแนวทางการทำการเกษตรขั้นสูง และพัฒนาแผนการจูงใจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสนับสนุนทางการเงินอ่านต่อ ...
นักสิ่งแวดล้อมไทยเข้าร่วมประท้วงหาทางแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ประชาชนที่อยู่ในแวดวงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยต่างเข้าร่วมกิจกรรมด้านสภาพภูมิอากาศที่จัดขึ้นทั่วโลก เพื่อรณรงค์หาทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผู้คนมากกว่า 100 คนเข้าร่วมในงาน “Climate Strike Bangkok” ในใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญใหญ่ “Climate Strike for For Future” ที่จัดขึ้นพร้อมกันใน 2,350 เมืองใน 25 ประเทศทั่วโลกอ่านต่อ ...
ปรัชญ์ รุจิวนารมย์
รายงานสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในน่านน้ำไทย
กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง (DMCR) รายงานการเกิดปะการังฟอกขาวหลายพื้นที่ทั้งในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยเนื่องจากอุณหภูมิของทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในขณะนี้ทางกรมกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดดูต่อ ...
กรุงเทพฯกำลังจะจมในไม่ช้า
สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทย จำนวนมากกว่า 10 ล้านคน การเกิดน้ำท่วมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของเมือง ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมถึงสภาพภูมิประเทศที่มีความสูง-ต่ำ โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยปกติแล้วเมืองนี้จะมีช่วงฤดูฝนถึงหกเดือนในทุกปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมอ่านต่อ ...