เศรษฐกิจและการพานิชย์
ก้าวสู่ตลาดโลก
ประเทศไทยได้เข้าร่วมเขตการค้าเสรี (FTA) โดยเขตการค้าเสรีแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ เขตการค้าเสรีอาเซียน เมื่อปี ค.ศ.1992 โดยมีได้ทำข้อตกลงกับ 6 ประเทศ คือ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เปรู และชิลี ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ขยายการทำการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศอื่นๆ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อินเดีย และฮ่องกงอ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ตามไปดู ‘เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน’ พบการลงทุนไม่บูมอย่างที่ตั้งเป้าไว้
หลังจากที่รัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออก ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 1/2558 เรื่อง กำหนดพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (ประกาศ กนพ. ที่ 1/2558) ต่อมาในเดือน ก.ค. 2558 รัฐบาลมีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ Special Economic Zone (SEZ) ระยะแรกใน 5 พื้นที่ชายแดน ได้แก่ (1) แม่สอด/ตาก (2) อรัญประเทศ/สระแก้ว (3) ตราด (4) มุกดาหาร และ (5) สะเดา/สงขลา โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ, สร้างงาน, กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ, จัดระเบียบบริเวณชายแดน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้ามายังพื้นที่ตอนในของประเทศอ่านต่อ ...
บีโอไอนำสื่อญี่ปุ่นพิสูจน์ความพร้อมลงทุน ฝ่าเปลวแดดลุยเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.ตาก
นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้จัดกิจกรรมนำคณะผู้สื่อข่าวของญี่ปุ่นเดินทางมาประเทศไทย เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ บีโอไอได้จัดให้มีการบรรยายและตอบข้อซักถามต่างๆเพื่อให้คณะผู้สื่อข่าว มีความเข้าใจถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนภายหลังที่ได้มีการปรับรูปแบบการส่งเสริมลงทุนมาตั้งแต่ต้นปี 2558อ่านต่อ ...
หนุนเอสเอ็มอี กทม. จับคู่เอสเอ็มอีเขต ศก.พิเศษ ขยายตลาด
นายวศิน มหัตนิรันดร์กุล นายกสมาคมเครือข่ายบริการวิศวการ กล่าวว่า การสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ถือเป็นอีกยุทธศาสตร์ที่จะใช้เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถใช้เป็นกลไกสนับสนุน และเชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีภารกิจหลักในการพัฒนาและส่งเสริมเอสเอ็มอี มีหน่วยงานในพื้นที่ถูกกำหนดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ 12 แห่ง ครอบคลุม 10 จังหวัดอ่านต่อ ...
สั่งสแกนสิทธิประโยชน์เขตเศรษฐกิจพิเศษ "ลาว-กัมพูชา"รับข้อเสนอทำงานข้ามแดน
พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ปรารภในช่วงเริ่มต้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) พิจารณาสิทธิประโยชน์ที่ดึงดูดใจนักลงทุนให้มาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษว่าเพียงพอแล้วหรือไม่ และให้พิจารณาในรายละเอียดของสิทธิประโยชน์ที่เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆอ่านต่อ ...