เศรษฐกิจและการพานิชย์
ธปท. ดำเนินมาตรการหลังจากค่าเงินบาทแข็ง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เดินหน้ามาตรการที่เกี่ยวข้องซึ่งจะเริ่มต้นปี พ.ศ.2564 แต่ส่วนใหญ่จะมีผลตั้งแต่สิ้นเดือนนี้ โดยผลลัพธ์ที่ได้คือ กฎใหม่จะช่วยให้คนไทยสามารถสับเปลี่ยนเงินไปต่างประเทศและลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังจะทำให้คนไทยถือเงินตราต่างประเทศในธนาคารในประเทศได้ง่ายขึ้น โดยกฎใหม่นี้ยังกำหนดให้ต้องมีการลงทะเบียนของนักลงทุนพันธบัตรทั้งในและต่างประเทศอ่านต่อ ...
สศช. เร่งดำเนินการใช้จ่าย
รัฐบาลตั้งเป้าหมายเบิกจ่ายอย่างน้อย 70% ของงบประมาณ 4 แสนล้านบาทที่กำหนดไว้สำหรับการฟื้นฟูสังคมและเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2564นายดนุชา พิชญานันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ภายในสิ้นเดือนกันยายนปีหน้า (เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2564) จะมีการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างน้อย 70% เพื่อช่วยเร่งรัดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ข้อมูลสหรัฐฯชี้ว่า ความตึงเครียดทางการเมือง เป็นกุญแจสำคัญต่อทิศทางเงินบาทในสัปดาห์หน้า
ธนาคารกสิกรไทยคาดการณ์ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวระหว่าง 30 ถึง 30.40 ต่อดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์หน้า โดยมีปัจจัยหลายประการที่นักลงทุนต้องติดตามธนาคารกล่าวว่า จะต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมืองของไทย รวมถึงข้อมูลการส่งออกของเดือนตุลาคมที่จะประกาศในอนาคตอันใกล้นี้อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ธปท. ศึกษาแนวคิดคลังสินค้า
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาแนวคิดคลังสินค้าที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ขายสินเชื่อเชิงพาณิชย์ที่พักอยู่ในกองทุนของบลจ. ต่าง ๆ ในราคาที่เจ้าหนี้และผู้กู้ยอมรับได้จากความยากลำบากท่ามกลางวิกฤตโควิด -19 ธุรกิจบางแห่งจึงต้องปิดกิจการชั่วคราวและรอให้สภาวะเศรษฐกิจกลับสู่สภาวะปกติก่อนจึงจะเปิดได้อีกครั้งอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
ธปท. เตรียมเพิ่มเติมมาตรการเงินบาท
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมดำเนินมาตรการเพิ่มเติม เพื่อบริหารเงินบาทที่แข็งค่า ภายใต้นโยบายที่ตั้งเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารกลางได้แสดงความกังวลต่อการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาท เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่เปราะบางอ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
รัฐดำเนินการข้อตกลง RCEP อย่างเร่งด่วน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้รัฐสภาอนุมัติการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุด ภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เพื่อปูทางสู่การให้สัตยาบันโดยสมบูรณ์ภายในปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาศ เลขานุการ กนง. กล่าวว่า ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่ให้ความสำคัญกับมาตรการที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นโดยคณะกรรมการฯ เชื่อว่าแม้ผลประกอบการที่ผ่านมาจะดีเกินคาด แต่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ และต้องการการสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ความคืบหน้าในการชำระหนี้ในไตรมาสที่ 3
ในไตรมาสที่ 3 ผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าสินเชื่อรถยนต์จำนวนมากที่ออกจากมาตรการพักชำระหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยนางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกค้า มูลค่ารวม 3.78 ล้านล้านบาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ซึ่งคิดเป็น 26% ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมดของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ โดยจำนวนดังกล่าวลดลงจาก 4.55 ล้านล้านบาท หรือ 31% ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมดที่บันทึกไว้ในไตรมาสที่ 2อ่านต่อ ...
สมฤดี บ้านช้องด้วง
ข้อตกลงการค้าใหม่ ช่วยการส่งออกและการท่องเที่ยว
หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและการท่องเที่ยวมีแนวโน้มที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้า Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ซึ่งรวม 15 ประเทศที่ได้ลงนามในช่วงสุดสัปดาห์ผ่านการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 37ข้อตกลงใหม่นี้ได้สร้างกลุ่มการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมี GDP รวม 26.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือ 30% ของ GDP โลก คิดเป็น 28% ของการค้าของโลก ประเทศที่เกี่ยวข้องมีประชากรรวม 2.2 พันล้านคน คิดเป็น 30% ของประชากรโลกอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่ 3
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDC) กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่ 3สภาพัฒน์ฯ กล่าวว่า แม้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในไตรมาสที่ 3 ดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 12.1 ในไตรมาสที่2 อันเป็นผลมาจากการปรับปรุงการส่งออกสินค้าและบริการ รวมการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของภาคเอกชน ในขณะเดียวกันการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น