เศรษฐกิจและการพานิชย์

จำนวนระดมทุนสตาร์ทอัพไทยลดฮวบ ด้วยพิษโควิด

Techsauce สื่อเทคโนโลยีชื่อดังเผยจำนวนข้อตกลงการระดมทุนสตาร์ทอัพลดลงเหลือ 30 ในปี พ.ศ.2564 ลดลงจาก 41 ในปีก่อนหน้า เนื่องจากการลงทุนมุ่งเน้นไปที่บริษัท ต่างๆที่อยู่ในช่วงเติบโตอย่างไรก็ตามการลงทุนทั้งหมดในสตาร์ทอัพภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 364 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.1 หมื่นล้านบาท) ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 109 ล้านดอลลาร์ ในปี พ.ศ.2562โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 มีการลงทุนในสตาร์ทอัพไทยทั้งหมด 845 ล้านดอลลาร์อ่านต่อ ...

สุจิตร ลีสงวนสุข

โควิดระลอก 3 ทำระบบการเงินไทยเสี่ยงสูงขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยระบบการเงินของไทยมีความเสี่ยงมากขึ้นจากผลกระทบเชิงลบหลังโควิด-19 เกิดระบาดระลอกใหม่สถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนไทยมีความเปราะบางมากขึ้น โดยสะท้อนจากอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆตามรายงานการประชุมฉบับแก้ไขของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ระบุ หนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบด้วยสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลให้ภาระการชำระหนี้ต่อเดือนอยู่ในระดับสูงตามอ่านต่อ ...

สมฤดี บ้านช้องด้วง

ธนาคารออมสินระงับการขอสินเชื่อ หลังยอดลงทะเบียนพุ่ง

ในวันพฤหัสบดีนี้ ธนาคารออมสิน (GSB) หยุดรับคำขอสินเชื่อ เพื่อเยียวยาโควิด-19 ชั่วคราว เนื่องจากคำขอมากกว่า 100,000 คำขออยู่ระหว่างดำเนินการในระบบท่ามกลางกระแสฟันเฟืองออนไลน์ นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสินกล่าวในแถลงการณ์ว่า “เราคาดว่าจะกลับมาดำเนินการขอสินเชื่อได้อีกครั้งในต้นสัปดาห์หน้า”เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารได้เปิดให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบลงทะเบียน เพื่อขอสินเชื่อซึ่งปลอดการชำระหนี้ในช่วงหกเดือนแรก ผ่านแอปพลิเคชันธนาคารออนไลน์ MyMo โดยเริ่มจากพื้นที่สีแดงเข้มอ่านต่อ ...

โควิดระลอกสามเขย่าเศรษฐกิจไทย

ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศกำลังดิ้นรนกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ในขณะที่ประเทศหลายนี้ต่างรอการเริ่มโครงการฉีดวัคซีนจำนวนมาก เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดระบบการเงินของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกล่าสุด และธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศมีความเสี่ยงมากขึ้นอ่านต่อ ...

ธปท.กังวลเอ็นพีแอลพุ่ง ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กังวลตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เนื่องจากโควิด -19 ระลอกที่ 3ทั้ง ธปท. และสถาบันการเงินมีความกังวลเกี่ยวกับ NPL ที่เพิ่มขึ้นในภาคการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่รวมถึงธุรกิจการบิน การขนส่ง และร้านอาหาร ซึ่งกำลังประสบปัญหาอย่างหนักจากการระบาดอ่านต่อ ...

สมฤดี บ้านช้องด้วง

เศรษฐกิจไทยหดตัว 2.6% ในไตรมาส 1

เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งดีขึ้นหลังจากหดตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากภาคการผลิตภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวของการผลิตนอกภาคเกษตร การเร่งลงทุนภายในประเทศ การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายจากรัฐบาล และการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นอย่างไรก็ตามการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อโควิด-19 ในช่วงปลายปี พ.ศ.2563 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคภาคเอกชนกระตุ้นให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์ฯ) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สอง เป็นร้อยละ 1.5-2.5 จาก 2.5-3.5 ในวันที่ 15 ก.พ. และเทียบกับการเติบโตร้อยละ 3.5-4.5 ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วอ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

สภาพัฒน์ฯเผยจีดีพีโตของอยู่กับการฉีดวัคซีน

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยในไตรมาสแรกของปีนี้หดตัวร้อยละ 2.6 เนื่องจากการระบาดของเชื้อโควิด -19 ระลอกที่ 3 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามมันเป็นการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังหดตัวร้อยละ 4.2 ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯกล่าวว่า ทางสภาฯได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีของประเทศในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.5 ถึง 2.5 จากตัวเลขก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 ถึง 3.5อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

แบงก์ชาติเผยแบงก์ไทยแข็งแกร่ง พร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าระบบธนาคารของไทยยังคงมีความยืดหยุ่น โดยมีทั้งเงินทุนและสภาพคล่องสูง เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยกำลังประสบวิกฤตโควิด-19 ระบาดระลอกที่ 3การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศในขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการบริโภค และการท่องเที่ยวทำให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์ฯ) ตัดสินใจปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจลงอ่านต่อ ...

นักเศรษฐศาสตร์รอยเตอร์คาดเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวในไตรมาสที่ 1

ตามการสำรวจของรอยเตอร์เผยเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวอีกครั้งในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการท่องเที่ยวทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้าลงเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างมากตามการประมาณการค่ามัธยฐานของนักเศรษฐศาสตร์ 11 คนในแบบสำรวจเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และหดตัวถึงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

เอสเอ็มอีขาดสภาพคล่องถึง 80% 1 แสนรายอาจปิดตัวลงหากวิกฤตโควิดยังคงอยู่

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เตือนผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ราวร้อยละ 70 ถึง 80 กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องนับตั้งแต่โควิด -19 ระลอกที่ 3 ได้ระบาดในประเทศไทยในช่วงปลายเดือนมีนาคม และอาจต้องปิดกิจการมากถึง 100,000 ราย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนโดยนายแสงชัยเผย “ สมาพันธ์ประเมินว่าธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 2.7 ล้านราย และวิสาหกิจขนาดกลาง 400,000 ราย ต่างกำลังประสบปัญหาในการทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้”อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

GUyft
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!