ภัยพิบัติและการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน
การสัมมนาออนไลน์มีเป้าหมาย เพื่อนำสินค้า SME ไปวางจำหน่ายบนชั้นวางของผู้ค้าปลีกรายใหญ่มากขึ้น [วิดีโอ]
มีการเปิดตัวแคมเปญใหม่เพื่อช่วย SMEs ฝ่าวิกฤตโควิด-19 โดยมีการจัดสัมมนาออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับตลาดโมเดิร์นเทรด โดยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs ขายสินค้าในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตได้มากขึ้น ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ลูกค้าได้มากขึ้นดูต่อ ...
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี’40
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของประเทศไทยลดลงสู่ 46 จุดในเดือนเมษายนจาก 48.5 จุดในเดือนมีนาคม ม.หอการค้าไทย ซึ่งรวบรวมรายงานประจำเดือน เปิดเผยว่า ดัชนีดังกล่าวต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2541 เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 ล่าสุดนายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปราะบางหลังจากการระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งแตะ 4 หลักต่อเนื่องกัน อีกทั้งยอดผู้เสียชีวิตในแต่ละวันยังพุ่งแตะสองหลัก”อ่านต่อ ...
Gallup รายงานคนไทยลดเวลาทำงานลง 76% ในครึ่งหลังของปี’63
รายงานของ Gallup บริษัท วิเคราะห์และที่ปรึกษาของอเมริการะบุนายจ้างในประเทศไทยลดเวลาทำงานของพนักงานลงราวร้อยละ 76 ในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ.2563 เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ตามรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้รวบรวมข้อมูลจาก 117 ประเทศ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเวลาทำงานในประเทศไทยลดลงร้อยละ 76 เท่ากับโบลิเวียในขณะเดียวกันนายจ้างชาวสวีเดนก็ลดชั่วโมงการทำงานน้อยที่สุดโดยคิดเป็นร้อยละ 17อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ดัชนีราคาผู้บริโภคพุ่งขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มมีการแพร่ระบาด
กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของไทยในเดือนเมษายนพุ่งขึ้นร้อยละ 3.41 เมื่อเทียบเป็นรายปีสู่ระดับ 100.48 จุด นับเป็นครั้งแรกที่เพิ่มขึ้นในรอบ 14 เดือนนายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า “ดัชนีราคาผู้บริโภคที่พุ่งสูงขึ้นในเดือนเมษายนถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปี 4 เดือน” ดัชนี CPI ออกมาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ของรอยเตอร์ถึงร้อยละ 2.50 ในเดือนมีนาคมตัวเลขลดลงร้อยละ 0.08 จากปีที่แล้วอ่านต่อ ...
ดอยช์แบงก์วิเคราะห์ไทยต้องการวัคซีนที่ผลิตในประเทศ
ตามรายงานของดอยช์แบงก์ ระบุ ประเทศไทยต้องใช้เวลาสองปีในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โรคโควิด -19 สำหรับอัตราการฉีดวัคซีนในปัจจุบัน แต่หากแผนการผลิตวัคซีนในประเทศเพิ่มขึ้น และอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นความหวังยังคงอยู่ในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น ณ วันที่ 28 เมษายน คนไทยราวร้อยละ 1.5 ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ในขณะที่มีผู้ติดเชื้อโควิด -19 ประมาณ 59,000 คนและรอดชีวิต ซึ่งหมายความว่าพวกเขาควรมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสในระดับหนึ่งอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนในเขตชุมชนแออัด
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ประเทศไทยประกาศฉีดวัคซีนให้กับประชาชน 50,000 คน ที่อาศัยอยู่ในย่านริมฝั่งแม่น้ำในกรุงเทพฯ เนื่องจากประเทศพยายามที่จะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาระลอกที่สามโดยทางการตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ประชาชนราวร้อยละ 70 ในเขตคลองเตย ซึ่งมีประชาชนที่อยู่อาศัยราว 80,000 คน หลังจากพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 300 คน จากการระบาดครั้งล่าสุดที่เริ่มเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาอ่านต่อ ...
ภาคเอกชนหาข้อตกลงวัคซีนกับรัฐบาล
ตามรายงานของหอการค้าไทย (TCC) ระบุว่ามี บริษัทประมาณ 2,000 แห่ง แสดงเจตจำนงที่จะซื้อวัคซีนโควิด -19 จากรัฐบาล เพื่อฉีดให้พนักงานของพวกเขากว่า 9 แสนคนนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทต่าง ๆ ต้องการที่จะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายของพนักงาน โดย “พวกเขายืนยันว่าต้องการซื้อจากรัฐบาล เพื่อแจกจ่ายให้กับพนักงาน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าวัคซีนสามารถจัดหาและส่งมอบได้เร็วเพียงใด”อ่านต่อ ...
ผุสดี อรุณมาศ
ประเมินผลกระทบโควิดระลอกสาม
ไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังจากการระบาดระลอกสองลดลง ประเทศไทยต้องเผชิญกับสึนามิจากการติดเชื้อโควิด -19 ในเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในขณะที่ประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนสูง เช่นสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการผ่อนปรนมาตรการที่เข้มงวด รัฐบาลไทยกลับมีปัญหาด้านการฉีดวัคซีนนอกจากนี้รัฐยังเผชิญกับความท้าทายในการเบิกจ่ายกองทุนที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ 3.80 แสนล้านบาทที่จัดสรรเพื่อต่อสู้กับโควิด-19อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
รัฐบาลเร่งจัดทำแผนเยียวยาโควิด-19
รัฐบาลกำลังพิจารณามาตรการเยียวยาใหม่สำหรับทั้งบุคคล และภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด -19 ระลอกที่สามน.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกระทรวงการคลังและสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เร่งประเมินผลกระทบของข้อจำกัดโควิด -19 ต่อทุกภาคส่วน ซึ่งมีความจำเป็นก่อนจัดทำร่างแผนมาตรการเยียวยาอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ผอ.ไอแอลโอเผยประเด็นสำคัญของการระบาดของโรคจำเป็นต้องมีระบบความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ยืดหยุ่น
นายชิโฮโกะ อาซาดะ มิยากาวะ ผู้อำนวยการของ ไอแอลโอ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคได้อธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาเป็นและสิ่งที่ต้องทำพร้อมกล่าวเนื่องในวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากลว่า การแพร่ระบาดได้ตอกย้ำความจำเป็นในการวางระบบความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OSH) สถานที่ทำงานอาจปนเปื้อนได้ง่ายทำให้คนงาน ครอบครัว และชุมชน เสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกจากการติดเชื้อแล้วคนงานในทุกภาคส่วนยังต้องเผชิญกับอันตรายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานและขั้นตอนใหม่ ๆ ที่นำมาใช้เพื่อบรรเทาการแพร่กระจายของไวรัสอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น