ภัยพิบัติและการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน
ไทยเดินหน้าต้อนรับนักท่องเที่ยวฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเดือน ก.ค.นี้
ประเทศไทยจะดำเนินการตามแผนในเดือนหน้าเพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนอีกครั้ง โดยเริ่มจากเกาะภูเก็ต เนื่องจากพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยว ในขณะที่ต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนาครั้งใหญ่ที่สุดแผนดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลเมื่อวันศุกร์ (4 มิถุนายน) และเกิดขึ้นก่อนการรณรงค์ฉีดวัคซีนครั้งใหญ่เพียงไม่กี่วัน ซึ่งความสำเร็จจะเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อใดที่ประเทศไทยจะสามารถเริ่มต้นอุตสาหกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ 40 ล้านคนต่อปี ในช่วงก่อนการระบาดจังหวัดภูเก็ตเป็นโครงการนำร่องสำหรับการกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง และตั้งเป้าว่าจะฉีดวัคซีน 70% ของประชากรในท้องถิ่นภายในวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งเร็วกว่าอัตราของประเทศมากอ่านต่อ ...
SMEs ต้องการมาตรการลดต้นทุนจากภาครัฐมากขึ้น: ส.อ.ท.
ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางกำลังขอให้รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าเช่า เนื่องจากธุรกิจต่าง ๆ ยังคงประสบกับการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เสนอแนะว่า รัฐบาลจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเสนอมาตรการลดต้นทุนหลังจากการสำรวจผู้บริหารใน 45 อุตสาหกรรม ส.อ.ท. ได้ข้อสรุปว่า SMEs ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ เช่น ค่าสาธารณูปโภค และค่าเช่า เพื่อช่วยให้พวกเขารอดจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดใหญ่อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวกรมประชาสัมพันธ์
กนอ.เร่งเดินหน้ามาบตาพุด เฟส 3
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กำลังเตรียมที่จะเริ่มก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดระยะที่ 3 ในจังหวัดระยอง ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 และข้อพิพาทเรื่องค่าตอบแทนระหว่างทางการและชาวประมงโดยกนอ.เปิดเผยการขยายท่าเรือ ซึ่งมีความจำเป็นเนื่องจากสิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบันมีความจุเต็มแล้ว จะดำเนินต่อไปตามแผนที่วางไว้ แม้ว่าจะมีการแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดใหญ่ต่อโครงการก็ตามอ่านต่อ ...
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
ประเทศไทยเร่งกระจายวัคซีนโควิด 6 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน
ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ได้มากถึง 6 ล้านโดสในเดือนนี้ โดยถือเป็นจุดเริ่มโครงการกระจายฉีดวัคซีนท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เลวร้ายที่สุดของประเทศนับตั้งแต่เกิดโรคระบาดน.พ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรคเปิดเผยว่ารัฐบาลมีแผนจะแจกจ่าย AstraZeneca Plc และ Sinovac Biotech Ltd. ประมาณ 2 ล้านโดสไปยังสถานที่ฉีดวัคซีนทั่วประเทศไทย ก่อนการเปิดตัวในวันที่ 7 มิถุนายน ซึ่งในเดือนมิถุนายนจะมีการฉีดวัคซีนให้มากถึง 6 ล้านโดส โดยมีเป้าหมายการฉีดอยู่ที่ประมาณ 500,000 โดสต่อวันอ่านต่อ ...
สถานการณ์อุตสาหกรรมการบินในยุคโควิด
อุตสาหกรรมสายการบินได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการระบาดใหญ่ หลังจากที่ประเทศไทยระงับเที่ยวบินทั้งหมดเมื่อปีที่แล้ว และเริ่มทยอยเปิดท้องฟ้าอีกครั้งเมื่อควบคุมอัตราการติดเชื้อได้มากขึ้นจากข้อมูลของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ระบุว่า ไตรมาสแรกของปีนี้มีเพียง 6.66 ล้านคนที่ใช้บริการเที่ยวบินภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ ซึ่งลดลงถึง 79.1% เมื่อเทียบกับ 25.27 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเที่ยวบินระหว่างประเทศมีผู้โดยสารเพียง 195,799 คน น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 98.8% ในขณะที่ผู้โดยสารภายในประเทศลดลง 60.1% เหลือ 6.47 ล้านคนอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด
จนถึงขณะนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ป่วยโรคข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19 เกือบหนึ่งล้านบาทนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าาว่า ทางสำนักงานฯได้แจกจ่ายเงินจำนวน 991,700 บาท ให้กับ 150 คน และสำนักงานยังคงเปิดรับคำร้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากผู้รับวัคซีนโควิด-19 ผู้ที่รู้สึกว่าตนเองหรือญาติของตนได้รับความทุกข์ทรมานจากผลข้างเคียง รวมถึงการเสียชีวิตในครอบครัว ควรยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือจากสาขาของ สปสช. ในพื้นที่หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทันทีอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
ครม.อนุมัติเงิน1หมื่นล้าน ตรวจ-รักษาโรคโควิด
ครม.อนุมัติงบประมาณใหม่ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้จ่ายสำหรับค่าตรวจและรักษาโควิด-19ทั้งหมด โดยงบฯ 6.35 พันล้านบาท จะถูกนำไปใช้กับค่าบริการสำหรับการทดสอบเชื้อโควิดทั้งวิธี RT-PCR pooled RT-PCR pooled saliva แอนติบอดีและแอนติเจน ซึ่งประเทศไทยมีอัตราทดสอบสูงสุดที่ 50,000 ตัวอย่างต่อวันนอกจากนั้น งบฯอีก 3.42 พันล้านบาทจะถูกนำไปใช้รักษาผู้ป่วยใน State quarantine และโรงพยาบาล ภายหลังการรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในช่วงการติดเชื้อระลอกที่ 3อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
สภาพัฒน์ฯรายงานการว่างงานสูงสุดนับตั้งแต่วิกฤตปี’52
นักเศรษฐศาสตร์ของสภาพัฒน์ฯระบุว่าการว่างงานในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2564 เพิ่มขึ้นเป็นราว 758,000 คน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่การระบาดของโรคโควิด-19นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่าตัวเลขว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ซึ่งจบลงด้วยอัตราว่างงานที่ 1.96% ซึ่งในอดีตเคยระดับสูงสุดที่ 2.08% ในปี พ.ศ.2552 จากการฟื้นตัวของการล่มสลายทางการเงินทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นจากระดับการว่างงาน 1.86% ในช่วงสิ้นปี พ.ศ.2563แต่ผลผลิตยังลดลง 1.8% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมาอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ยอ่านต่อ ...
ททท.เผยพื้นที่ Sandbox นำร่อง 5 จังหวัด ต้องมีแผนพัฒนาด้านอุปทานอย่างเป็นรูปธรรม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)เผย ภูเก็ตต้องดำเนินการตามแผนพัฒนาที่มุ่งลดการให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพต่ำ เพื่อแลกกับปริมาณวัคซีนกว่า 930,000 โดสที่จัดลำดับความสำคัญให้กับเกาะนี้ในการสร้างโครงการ Sandbox นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการททท. กล่าวว่า “ ไม่ใช่แค่ภูเก็ตเท่านั้น แต่อีก 9 พื้นที่ที่จะเปิดอีกครั้งในปีนี้จะต้องมีแผนพัฒนาด้านอุปทานอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถบอกเราได้ว่าต้องปรับปรุงอะไรบ้าง เพื่อส่งมอบโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่ดีขึ้นเมื่อนักท่องเที่ยวกลับมา” อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
สภาพัฒน์ฯ เตือนตัวเลขการว่างงานพุ่ง
สภาพัฒน์ฯเตือนการว่างงานมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้เนื่องจากได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด -19 ระลอกที่ 3 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่าการระบาดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อและทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากกิจกรรมที่ชะลอตัวลงอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์