ภัยพิบัติ

การระบาด

วัฒนธรรมที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลางคือกุญแจรับมือโรคระบาด

ความพร้อมใช้งานของข้อมูลแบบเรียลไทม์ การวิเคราะห์ข้อมูลอัตโนมัติ วัฒนธรรมและทักษะที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลถือเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้องค์กรต่างๆ ก้าวข้ามความยากลำบากจากการแพร่ระบาดของโรคระบาดนายมาร์ค เนลสัน ผู้บริหารระดับสูงของ Tableau ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลของสหรัฐฯ กล่าวว่า “ทุกธุรกิจเป็นธุรกิจดิจิทัลจำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้ข้อมูล เพื่อตอบสนองและปรับตัวในโลกที่ไม่หยุดนิ่ง” อ่านต่อ ...

สุจิตร ลีสงวนสุข

รัฐบาลต้องเร่งฉีดวัคซีน เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชน

รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนในแผนเปิดตัวการฉีดวัคซีนโควิด -19 ทันที และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการมากขึ้น หากไม่ทำเช่นนี้จะเป็นหายนะแผนการฉีดวัคซีนของรัฐบาลไม่ได้เริ่มต้นที่ดี ด้วยปัญหาเก่าที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นแทบทุกวัน ความลังเลใจในการฉีดวัคซีนจึงเกิดขึ้นในหมู่ประชาชนอ่านต่อ ...

บรรณาธิการ

ประเทศไทยเตรียมฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบวอล์กอินตั้งแต่เดือนมิถุนายน

กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยจะมีการจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบ Walk-in ขึ้นทั่วประเทศภายในเดือนมิถุนายน โดยไม่จำเป็นต้องนัดหมายล่วงหน้า น.พ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า “หลายคนอยากฉีดวัคซีน แต่ไม่สามารถลงทะเบียนนัดหมายผ่านระบบออนไลน์ได้” โดย น.พ.โอภาส กล่าวเสริมว่า “แนวคิดนี้มีไว้สำหรับทุกคนที่ต้องการรับการฉีดวัคซีน เพื่อรับบริการและเข้าถึงผู้คนให้ได้มากที่สุด” อ่านต่อ ...

ธ.ก.ส. ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19

ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส. ) จะเสนอพักชำระหนี้ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปีให้กับลูกค้าที่เป็นเกษตรกรสหกรณ์กองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเกษตรกรรมที่มีหนี้กับธนาคาร ณ วันที่ 1 เมษายน 2564 เพื่อบรรเทาภาระทางการเงินของลูกค้าท่ามกลางโควิด -19 ระลอกที่ 3 ที่ระบาดอย่างรุนแรงนายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า “เราคาดว่าจะมีลูกค้าประมาณ 2.82 ล้านรายที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้”อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

เอสเอ็มอีขาดสภาพคล่องถึง 80% 1 แสนรายอาจปิดตัวลงหากวิกฤตโควิดยังคงอยู่

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เตือนผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ราวร้อยละ 70 ถึง 80 กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องนับตั้งแต่โควิด -19 ระลอกที่ 3 ได้ระบาดในประเทศไทยในช่วงปลายเดือนมีนาคม และอาจต้องปิดกิจการมากถึง 100,000 ราย พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนโดยนายแสงชัยเผย “ สมาพันธ์ประเมินว่าธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 2.7 ล้านราย และวิสาหกิจขนาดกลาง 400,000 ราย ต่างกำลังประสบปัญหาในการทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้”อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

ครม.ไฟเขียวจ่ายเงินเยียวยา "เราชนะ" รอบใหม่ 2,000 บาท

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ครม.ไฟเขียว มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรระบาดของ “โควิด-19” ระลอกล่าสุด อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการ “เราชนะ” และ “ม.33 เรารักกัน” โดยทั้งสองโครงการจะเพิ่มเงินเยียวยาให้อีกโครงการละ 2,000 บาท และขยายเวลาใช้สิทธิ์ไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าผู้ลงทะเบียนเราชนะจะได้รับเงิน 1,000 บาท 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจะช่วยให้ผู้คนราว 33.5 ล้านคนผู้ลงทะเบียนเรารักกันประมาณ 8 ล้านคนจะได้รับเงินสัปดาห์ละ 1,000 บาท จำนวน 2 ครั้งอ่านต่อ ...

มงคล บางประภา

รัฐบาลไทยมีเงินในมือ 3 แสนล้านบาท รับมือกับวิกฤตโควิดจนถึง 30 ก.ย.

รัฐบาลมีเงินเหลือราว 2.4 แสนล้านบาทจากเงินกู้กระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาทบวก 6 หมื่นล้านบาทจากงบประมาณฉุกเฉินปี 2563 เพื่อรับมือกับวิกฤตโควิด -19 จนถึงวันที่ 30 กันยายนรัฐบาลไทยมีเงินในมือ 3 แสนล้านบาท เพื่อรับมือกับวิกฤตโควิดจนถึง 30 กันยายนเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (5 พ.ค.) คณะรัฐมนตรีจัดสรรเงิน 2.2 แสนล้านบาท เพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิดระลอกที่ 3 ซึ่งมีความรุนแรง และระบาดรุนแรงกว่า 2 ระลอกก่อนหน้านี้อ่านต่อ ...

The Nation Reporter

โชคร้ายจากโควิดระลอกที่ 3 ในไทย

การระบาดใหญ่ระลอกที่สามทำให้ธุรกิจต่างเสียขวัญ หลังก่อนหน้านี้เชื่อว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในปีนี้ หลังจากที่โควิด-19 กระทบต่อรายได้ในปี พ.ศ.2563 อย่างหนักจากความซับซ้อนของโควิด -19 สายพันธุ์อังกฤษที่แพร่ระบาดมากขึ้น โดยการระบาดระลอกที่สามนี้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1,000 คนต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นเลขสองหลักต่อวัน ขณะที่หน่วยวิจัยของธนาคารหลายแห่งได้ปรับลดแนวโน้มจีดีพี ปี พ.ศ.2564อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์

ความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมแตะระดับต่ำในรอบ 8 เดือน หลังโควิดระบาดครั้งใหญ่

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่าความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมของไทยในเดือนเมษายนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาที่เลวร้ายที่สุดในประเทศ และรัฐบาลควรกู้เงินอีก 1 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ ส.อ.ท.เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมของไทยลดลงสู่ระดับ 84.3 ในเดือนที่แล้วจาก 87.3 ในเดือนมีนาคมนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท.ได้บรรยายสุรปว่า ดัชนีในช่วงสามเดือนข้างหน้าลดลง เช่นกัน โดยบ่งชี้ว่าการระบาดของโรคมีแนวโน้มที่จะลากยาวไปต่อไปอีก ท่ามกลางการฉีดวัคซีนที่ล่าช้าอ่านต่อ ...

วีซ่าเผยผลศึกษาพบผู้บริโภคชาวไทยเกือบครึ่งหลีกเลี่ยงการใช้เงินสด แม้โควิดสิ้นสุดลง

การศึกษาทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภค โดย Visa พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคชาวไทยทั้งหมด (ร้อยละ 45) มีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการใช้เงินสดหลังจากการระบาดของโรคโควิด -19 สิ้นสุดลงการศึกษายังเจาะลึกถึงกิจกรรมที่ผู้บริโภคชาวไทยรอคอยที่จะใช้จ่ายในช่วงที่กำลังฟื้นตัวกิจกรรมสามอันดับแรก ได้แก่ การเดินทางภายในประเทศไทย (ร้อยละ 35) การเดินทางไปต่างประเทศไปยังจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัยจากโควิด (ร้อยละ 29) และการเดินทางท่องเที่ยวเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเมืองของตนเอง (ร้อยละ 19)อ่านต่อ ...

ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น

Contact us

Contact us

Do you have questions on the content published by Open Development Thailand? We will gladly help you.

Have you found a technical problem or issue on the Open Development Thailand website?

Tell us how we're doing.

Do you have resources that could help expand the Open Development Thailand website? We will review any map data, laws, articles, and documents that we do not yet have and see if we can implement them into our site. Please make sure the resources are in the public domain or fall under a Creative Commons license.

File was deleted
ERROR!

Disclaimer: Open Development Thailand will thoroughly review all submitted resources for integrity and relevancy before the resources are hosted. All hosted resources will be in the public domain, or licensed under Creative Commons. We thank you for your support.

Xxe7w
* The idea box couldn't be blank! Something's gone wrong, Please Resubmit the form! Please add the code correctly​ first.

Thank you for taking the time to get in contact!