ภัยพิบัติและการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน
ภัยพิบัติ
หยุดส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรในอำเภอครบุรีตั้งแต่ 24 ส.ค.นี้ เนื่องจากอ่างเก็บน้ำลำแชะแห้งขอด
เจ้าหน้าที่ชลประทานจะหยุดส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรในเขตชลประทานตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. เนื่องจากอ่างเก็บน้ำลำแชะ ในอำเภอครบุรีมีปริมาณเหลือเพียงร้อยละ 21 และเริ่มแห้งขอดนายวิชิต กิตวิรัตน์ นายอำเภอครบุรี และนายสมศักดิ์ ทับพลอย ผู้อำนวยการโครงการปฏิบัติการและบำรุงรักษาลำแชะพบกับผู้แทนชาวบ้านในพื้นที่ชลประทานในอำเภอครบุรี เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้อ่านต่อ ...
ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ
ความเสียหายจากภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมูลค่าสูงถึง 3,000 ล้านบาท
รายงานความเสียหายจากภัยแล้งมีมูลค่าสูงถึง 3,000 ล้านบาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (OAE) ในขณะที่พื้นที่การเกษตรมากกว่า 800,000 ไร่ (128,000 เฮกตาร์) ทั่วประเทศไม่สามารถเพาะปลูกได้ และพืชผลทางการเกษตรกว่า 10 ล้านไร่ต่างยืนต้นตายอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ม.หอการค้าประเมินความเสียหายจากภัยแล้งปีนี้ไว้ที่ 1 หมื่นล้านบาท
ประมาณการล่าสุดจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงให้เห็นว่าภัยแล้งในปีนี้ได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกราว 1,330 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่นาข้าว โดยมีความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 10,000 ล้านบาทมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) ได้ทำการสำรวจภัยแล้งในปีนี้ ซึ่งรวบรวมตัวอย่างข้อมูลจากหน่วยงานภาคเกษตร และบริษัทเอกชนจาก 109 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ การสำรวจได้ข้อสรุปว่าภาคเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภัยแล้งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีผลต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรในพื้นที่อ่านต่อ ...
ธนกร เสงี่ยม
กรมอุตุนิยมวิทยาเตือน ไทยกำลังเผชิญภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบสิบปี
กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบสิบปิเนื่องจากปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยทั่วทั้งพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ของประเทศได้ลดลงจากค่าเฉลี่ยรายเดือนนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ฝนที่ตกลงมาในฤดูฝนนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมถึงในที่ราบภาคกลาง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
พร้อมใช้ ‘ธนาคารน้ำใต้ดิน’ โดยมีต้นแบบจากญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคมนี้
นายจักรพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ทางกรุงเทพฯจะทำการสร้าง ‘ธนาคารน้ำใต้ดิน (water bank)’ บริเวณถนนอโศก – ดินแดงที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดน้ำท่วมในเดือนหน้า เพื่อป้องกันพื้นที่จากน้ำท่วมที่รุนแรงขึ้นมาตรการป้องกันอุทกภัยใหม่ ซึ่งจำลองมาจากธนาคารน้ำใต้ดินในญี่ปุ่น คือบ่อคอนกรีตที่สามารถใช้ในการกักเก็บน้ำฝนในช่วงฝนตกหนัก โดยแต่ละหลุมเชื่อมต่อกับท่อ และรางระบายน้ำเพื่อรับมือกับน้ำท่วมอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
สทนช.เตือนน้ำแล้งในภาคเหนือ และอีสาน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ออกมาเตือนการขาดแคลนน้ำใน 160 อำเภอ ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื่องจากระดับน้ำในเขื่อน และอ่างเก็บน้ำอยู่ในระดับต่ำ และคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณฝนไม่เพียงพอในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคมนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวกับกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน เพื่อพิจารณาภาพจำลองปริมาณสำรองน้ำในเขื่อนภายใต้การกำกับดูแลและจัดการการปล่อยน้ำตามลำดับอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
น้ำทะเลหนุนไหลบ่าทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านในสมุทรปราการ
ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้มีการยกระดับคันดินให้สูงขึ้นบริเวณประตูระบายน้ำที่กำลังก่อสร้างในอำเภอบางบ่อ หลักจากเกิดน้ำทะเลหนุนขึ้นสูง ส่งผลให้น้ำทะเลไหลบ่าทะลักเข้าท่วมในพื้นที่ โดยมีบ้านเรือนที่รับความเสียหายกว่า 40 หลังในคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านพื้นที่หมู่ 5 ตำบลคลองด่านถูกน้ำเข้าท่วม โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เวลาประมาณ 19.30 น. และภายใน 10 นาที บ้านเรือนกว่า 40 หลังถูกน้ำท่วมลึกถึงหนึ่งเมตร โดยไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่ทรัพย์สินเสียหายหนักอ่านต่อ ...
สุทธิวิทย์ ชยุตม์วรกานต์
นายกรัฐมนตรีกระตุ้นให้บรรเทาอุทกภัยในกรุงเทพฯ
นายกรัฐมนตรีขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางบรรเทาอุทกภัยในกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยสะดวกแก่ประชาชนดูต่อ ...
อุโมงค์ยักษ์ 'จะไม่ช่วยป้องกันน้ำท่วม' กรุงเทพฯ
นักวิชาการเรียกร้องให้ทางกรุงเทพมหานครกำหนดให้โครงการคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ปรับปรุงรูปแบบอาคารเพื่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน แม้ว่าจะมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดยักษ์ถึง 20 แห่ง แต่ทว่ากรุงเทพฯก้ยังไม่ปลอดภัยจากน้ำท่วมศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการคาดการณ์ว่า หากทางกรุงเทพมหานครได้เริ่มใช้โครงสร้างเหล่านี้เพื่อช่วยจัดการกับปัญหาน้ำท่วมในเมืองหลวงอ่านต่อ ...
จุฬารัตน์ แสงปัสสา
ผู้ว่าฯกรุงเทพกล่าว ไฟดับเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในวันศุกร์ที่ผ่านมา
อุโมงค์ยักษ์ในเขตบางซื่อได้ล้มเหลวในการระบายน้ำ ทำให้ชาวกรุงเทพฯ ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือลุยผ่านถนนที่ถูกน้ำท่วมขังในวันศุกร์ที่ผ่านมาโดยความล้มเหลวนี้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุโมงค์รวมถึงคำกล่าวอ้างของผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ว่าอุโมงค์ดังกล่าวจะสามารถช่วยกรุงเทพจากน้ำท่วมได้จริงหรืออ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น