ภัยพิบัติและการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน
ภัยพิบัติ
ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง
ในเดือนนี้ คนไทยในบางพื้นที่อาจเปิดก๊อกน้ำแล้วพบว่าน้ำประปามีรสเค็ม อันเกิดจากระดับน้ำจืดในแม่น้ำ และเขื่อนที่ลดต่ำลงส่งผลให้มีการบุกรุกของน้ำทะเล และนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ผลกระทบในฤดูกาลนี้เนื่องจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างประสบกับภัยแล้ง ซึ่งอาจเลวร้ายที่สุดในรอบสี่ทศวรรษอ่านต่อ ...
รัฐบาลเตือนน้ำซับพลายโรงงานในเขตอีอีซีเหลือจนถึงเดือน มิ.ย.นี้เท่านั้น
รัฐบาลได้เตือนว่าปริมาณน้ำสำรองในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นั้นเพียงพอจนถึงเดือนมิถุนายนนี้เท่านั้น เว้นแต่รัฐบาลจะสามารถหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนโดยปริมาณน้ำในปัจจุบันเหลือเพียง 35 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อป้อนให้กับภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทราในเขตอีอีซีอ่านต่อ ...
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
กองทัพระดมกำลังเจ้าหน้าที่รับมือภัยแล้ง
กรมชลประทานได้ยืนยันว่าการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบันสามารถดำเนินงานได้ตามแผน โดยมีปริมาณน้ำสำรองเพียงพอจนถึงเดือนกรกฎาคมในกรณีฝนขาดช่วง ซึ่งทางกองทัพได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงหน่วยทหารพัฒนา มณฑลทหารบกที่ 15 ได้ส่งมอบน้ำดื่มบริสุทธิ์ระบบ RO จำนวน 12,000 ลิตร จากรถน้ำดื่มเคลื่อนที่ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับโรงเรียนอนุบาลห้วยคต อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อ่านต่อ ...
ธนกร เสงี่ยม
ท่ามกลางภัยแล้งแต่ EEC ต้องไม่ถูกทิ้งไว้กลางทาง
ผู้บริหารกลุ่มปตท.ได้ประชุมหารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันพุธ (12 กุมภาพันธ์) ที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากภัยแล้งเรื้อรังต่อธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ามีระบบท่อระบายน้ำ เพื่อส่งน้ำจากจันทบุรีไปยังเขต EEC ในระยอง แต่จำเป็นต้องมีแผนระยะยาวอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
ปภ.ประกาศภัยแล้ง 21 จังหวัด
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า 21 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้งโดยรายชื่อจังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ: เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: หนองคาย บึงกาฬ, นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ในภาคกลาง: นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท, กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งมีหมู่บ้านกว่า 5,809 แห่งได้รับผลกระทบใน 674 ตำบลจาก 127 อำเภออ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์
รัฐบาลประกาศภัยแล้งใน 20 จังหวัด 116 อำเภอ
เมื่อวันพฤหัสบดี (6 กุมภาพันธ์) ที่ผ่านมา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีการประกาศภัยแล้งใน 116 เขตทั่วประเทศระหว่างวันที่ 17 ตุลาคมถึง 6 กุมภาพันธ์ อ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น
รัฐบาลเร่งเดินหน้าต้านภัยแล้ง [วิดีโอ]
รัฐบาลเตรียมจัดสรรน้ำไปยังพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้น พร้อมสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มเติม ตามมาตรการระยะยาวของรัฐบาลต่อการขาดแคลนน้ำดูต่อ ...
ไทยเตรียมถกข้อกังวลด้านความแห้งแล้งจากเขื่อนจีนในแม่น้ำโขงกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำแม่น้ำโขง
เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ประเทศไทยเตรียมเพิ่มข้อกังวลด้านความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในโดยปัจจุบันระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในเดือนหน้า เนื่องจากเกษตรกรในท้องถิ่นกล่าวว่า เขื่อนในประเทศจีนกำลังทำลายปลายน้ำที่คนหลายล้านคนพึ่งพาอาศัยอยู่นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ให้สัมภาษณ์กับ BenarNews ผู้ให้บริการข่าวออนไลน์ในเครือ RFA โดยกล่าวว่า ได้ทำการบันทึกคำร้องเรียนจากชาวบ้านที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากกระแสน้ำที่ไม่แน่นอนของแม่น้ำโขงอ่านต่อ ...
ไทยอาจเจอภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปี จนน้ำประปาของกรุงเทพฯ อาจกลายเป็นน้ำเค็ม
ผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ บางรายอาจกำลังลิ้มรสความเสี่ยงของภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากภาวะน้ำประปาเค็มในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ ซึ่งเกิดจากภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณน้ำจืดในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลง ส่งผลให้น้ำทะเลเกิดการรุกล้ำเข้ามาแผ่นดินการรุกล้ำของน้ำเค็มเป็นเพียงสัญญาณเดียวของสภาพอากาศแห้ง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาที่พยากรณ์ว่าจะเป็นภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปีอ่านต่อ ...
กนอ. จับมือ JICA-ชิชิบุ เคมิคัล พัฒนานวัตกรรมรับมือน้ำท่วมป้องกันพื้นที่อุตสาหกรรม
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ร่วมมือกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ บริษัทชิชิบุ เคมิคัล เปิดตัวโครงการสาธิตนำร่องเพื่อการวิจัยก่อสร้างบ่อกักเก็บน้ำฝนใต้ดินด้วยโครงสร้างวัสดุพลาสติก (PRSS) เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเกิดอุทกภัยภายในนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทย ณ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดี (19 ธันวาคม) ที่ผ่านมาอ่านต่อ ...
ผู้สื่อข่าว เดอะ เนชั่น